วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ยามเย็นกับรถไฟสายใต้

ยามเย็นกับรถไฟสายใต้

หลังจากไปทำงาน ขากลับผ่านอำเภอพุนพินพอดี เลยแวะถ่ายรูปสักหน่อย
ส่วนตัวผม เป็นคนชอบรถไฟมาตั้งแต่เด็ก รอบนี้เลยถ่ายภาพเกี่ยวกับรถไฟมาโดยเฉพาะครับ

ที่แรกครับ สถานีรถไฟชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ ตั้งอยู่บนทางหลวงสาย 4112 ตำบลพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 






อีกด้านของสถานี บริเวณนี้เป็นย่านคลังสินค้าของการรถไฟครับ มีถนนตัดเข้ามาเพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้า














ขอเล่นกับแสงยามเย็นนิดหนึ่ง






และแล้ว หลังจากยืนรออยู่นานพอดูครับ ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ ก็มา











หลังจากนั้นจึงเดินทางไปอีกที่หนึ่งครับ สะพานจุลจอมเกล้าครับ









การก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ในพ.ศ.2449 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ส่งมิสเตอร์กิตตินส์ วิศวกรชาวอังกฤษเลขานุการกรมรถไฟหลวง กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และพระยาวจีสัตยารักษ์ เจ้าเมืองไชยา ออกสำรวจเส้นทางรถไฟสายใต้ ซึ่งต้องกู้เงินจากรัฐบาลสหพันธรัฐมลายูของอังกฤษ โดยมีมิสเตอร์กิตตินส์ เป็นผู้อำนวยการสร้างทางรถไฟสายใต้










ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 ช่วงการก่อสร้างจากชุมพรไปยังนครศรีธรรมราชต้องผ่านลำน้ำสายใหญ่ที่ตำบลท่าข้าม เมืองไชยา คือแม่น้ำหลวง การก่อสร้างสะพานเหล็กรูปทรงโค้ง แบ่งเป็นสามช่วง ใช้สำหรับให้รถไฟแล่นผ่านอย่างเดียว ต้องใช้งบประมาณ 149,364 บาท แต่ถ้าจะทำทางคนเดินต้องเพิ่มงบประมาณอีก 13,000 บาท และถ้าจะให้สมบูรณ์มีทางเกวียนข้ามได้ด้วย ต้องเพิ่มงบประมาณอีก 148,160 ซึ่งราคาสูงเกือบเท่าตัวสะพาน ในขณะนั้นที่ตำบลท่าข้าม เมืองไชยา ยังไม่ค่อยมีเกวียนใช้มาก ผู้คนก็ไม่มาก จึงขอพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ 5 ให้งดการสร้างทางเกวียน ดังนั้นสะพานข้ามแม่น้ำหลวงจึงมีแต่ทางรถไฟกับคนเดินเท่านั้น






พ.ศ. 2485 ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่สุราษฎร์ธานี เชิงสะพานข้ามแม่น้ำตาปี เป็นจุดตั้งฐานทัพทหารญี่ปุ่น และเป็นจุดยุทธศาสตร์ลำเลียงพลไปสู่มลายู เพื่อเดินทางไปพม่า และสิงคโปร์ พ.ศ. 2486 ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้ใช้เครื่องบิน บี 24 บรรทุกระเบิดมาทำลายสะพานแห่งนี้ถึงสองครั้ง โดยครั้งแรกไม่สามารถทำลายลงได้ ครั้งที่สอง จึงใช้โซ่ผูกร้อยระเบิดเป็นพวงทิ้งทำลายจนสะพานหักลงกลางลำน้ำตาปี เมื่อ พ.ศ. 2486 นอกจากนี้ ได้ระเบิดทำลายบ้านเรือนในตลาดท่าข้ามอีกด้วย









หลังสงครามสงบ รัฐบาลได้ว่าจ้างบริษัท CORMANLONG CO.LTD ประเทศอังกฤษมาทำการซ่อมแซม เปลี่ยนรูปทรงจากทรงเหล็กโค้ง เป็นแท่งเหลี่ยม ลักษณะรูปทรงเดียวกับสะพานพระรามที่ 6 แบ่งออกเป็น 3 ช่วง มีทางรถไฟ ทางคนเดิน และช่องกลางเว้นไว้สำหรับผิวการจราจร ใช้เวลาซ่อมสร้างประมาณ 6 ปี จึงแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน พระราชทานนามให้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2494 ว่า “สะพานจุลจอมเกล้า”และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2496




หลังจากเปิดใช้การจราจร อีกครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 จนถึงปัจจุบัน ทำให้สะพานนี้มีอายุการใช้งานมา นานกว่า 50 ปี ตัวสะพานจึงมีสภาพชำรุดจนต้องจำกัดน้ำหนักยวดยานที่วิ่งผ่าน สะพานโดยห้ามรถบรรทุก 10 ล้อวิ่งผ่านประกอบกับสะพานเดิมแคบมีโค้งอันตราย และมีปริมาณจราจรเพิ่มมากขึ้นตามความเจริญเติบโตของบ้านเมือง ทำให้สะพานเดิมไม่ สามารถรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ









ต่อมาในปี พ.ศ.2539 เนื่องจากความทรุดโทรมของสะพาน และประชาชนได้รับความเดือดร้อน จากการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เส้นทางสายนี้เป็นประตูเข้า-ออกตัวเมืองจังหวัดสุราษฏร์ธานี กระทรวงคมนาคม ให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างทางหลวงสายนี้ พร้อมทั้งก่อสร้าง สะพานจุลจอมเกล้าใหม่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสะพาน สำหรับให้ยวดยานพาหนะต่างๆ รวมทั้งรถบรรทุก 10 ล้อสามารถใช้การจราจรได้รวดเร็ว สะดวก ปลอดภัย เพื่อ เป็นการทดแทนสะพานจุลจอมเกล้าเดิม ซึ่งจะใช้เป็นเส้นทาง สำหรับทางรถไฟ แต่เพียงอย่างเดียวต่อไป กรมทางหลวงได้เร่งดำเนินการก่อสร้างทางสะพานข้ามแม่น้ำตาปีแห่งใหม่ และได้มีพิธีเปิดการจราจร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2543 เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันนี้ สะพานจุลจอมเกล้า จึงใช้สำหรับรถไฟอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนบริเวณอื่น ทางเทศบาลได้ปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะมาจนถึงปัจจุบัน ครับ