วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ยามเย็นกับรถไฟสายใต้

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2665 ตั้งใจไว้จะไปเที่ยวงานครบรอบ 98 ปี พระราชทานนามสุราษฏร์ธานี ที่บริเวณตลาดสถานีรถไฟ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานีครับ หลังจากเสร็จงานแล้ว จึงจัดเตรียมกล้องชุดใหญ่ มุ่งหน้าไปอำเภอพุนพินครับ

เดินทางไปถึงพุนพิน เวลาบ่ายสี่โมงเย็นเศษ วันนี้ไม่มีฝน แดดดีมาก เลยถือโอกาสถ่ายรูปขบวนรถไฟสายใต้ ที่บริเวณสะพานจุลจอมเกล้าซะเลย




วันนี้แดดดีครับ อากาศเลยร้อนพอสมควร แต่ไม่เป็นปัญหาครับ


ระหว่างรอขบวนรถไฟ เลยถือโอกาสออกกำลังด้วยการเดินเบาๆ และเก็บภาพสะพานหลายๆมุมไปพลางๆก่อน




ประมาณห้าโมงเย็น ขบวนรถไฟต่างๆ ก็เริ่มทยอยมาครับ


เริ่มด้วยขบวนรถท้องถิ่นที่ 498 สุราษฏร์ธานี - คีรีรัฐนิคม ครับ





ทำขบวนด้วยหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า GE หมายเลข 4007 ครับ


ขบวนนี้จะว่าไปแล้ว เหมือนเป็นรถไฟรับส่งนักเรียนมากกว่า เด็กนักเรียนทั้งคันครับ


หลังจากขบวนรถท้องถิ่นที่ 489 ผ่านไปได้ไม่นาน ตามมาด้วยขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ



สำหรับขบวนรถเร็ว ที่ 174 ทำขบวนด้วยหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric (GEA) หมายเลข 4535 ครับ




วันนี้ค่อนข้างตรงต่อเวลาครับสำหรับขบวนนี้






ไม่นานครับ ตามมาด้วยขบวนรถเร็วที่ 168 กันตัง - กรุงเทพ


ทำขบวนด้วยหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom (ALS) หมายเลข 4109 (เครื่องยนต์ MTU)


ปกติขบวนนี้มักเสียเวลาบ่อย แต่วันนี้ถือว่าค่อนข้างตรงต่อเวลาครับ




ขบวนต่อไป คือขบวนรถด่วนที่ 86 นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ


ซึ่งกำหนดขบวนรถด่วนที่ 86 จะมาถึงสุราษฏร์ธานี เวลาประมาณ 18.23 นาทีครับ เมื่อยังไม่ถึงเวลา เลยถ่ายบรรยากาศรอบๆไปก่อนครับ


เพื่อความสะดวกระหว่างรอขบวนรถไฟ วันนี้เลยแอบเอาเจ้าบีที มาจอดถึงบนสะพานเลยครับ


เปิดท้ายกะบะนอนรอได้เลย





จริงๆจะมีขบวนรถด่วนพิเศษ ที่ 43 กรุงเทพ - สุราษฏร์ธานี จะมาถึงสถานีสุราษฏร์ธานี ประมาณ ห้าโมงเย็นเศษๆ แต่จะค่ำแล้วยังไม่มา แสดงว่าเสียเวลาอีกแล้วครับท่าน




บรรยากาศยามพลบค่ำ







แสงไฟจากบริเวณงานครับ







เวลาเกือบจะ 1 ทุ่มแล้ว ขบวนรถด่วนที่ 86 ซึ่งปกติจะมาถึงสุราษฏร์ธานี เวลาประมาณ 18.23 นาทียังไม่มีวี่แววว่าจะมาถึง เลยถ่ายบรรยากาศรอบๆไปก่อนครับ




ถ่ายภาพไปพอสมควรครับ ไม่มีวี่แววว่าขบวนไหนจะมา เลยตั้งใจว่าจะเก็บภาพอีกสักนิด ก็จะไปเที่ยวงานแล้วครับ



เมื่อเก็บของเรียบแล้ว ก็ได้ยินเสียงหวูดมาแต่ไกล และแล้ว ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 43 กรุงเทพ - สุราษฏร์ธานี ก็มาถึงครับ




เปิดหวูดยาวมาก รีบจัด เนื่องจากผิดเวลาไปกว่า 2 ชั่วโมง





เลยได้ภาพบรรยากาศแบบนี้ สวยไปอีกแบบ




หลังจากขบวนรถด่วนพิเศษ ที่ 43 ผ่านไป ส่วนขบวนรถด่วนที่ 86 ก็ไม่มีทีท่าว่าจะมา จึงเดินทางไปสถานที่จัดงานครบรอบ 98 ปี พระราชทานนามสุราษฏร์ธานี ที่บริเวณตลาดสถานีรถไฟ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานีตามที่ตั้งใจไว้ต่อไป ขอบคุณครับ

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง

ขากลับจากพัทลุง คราวที่แล้วเข้าไปไม่ถึงตัวสถานีเนื่องจากไม่ทราบเส้นทาง คราวนี้มีจีพีเอสไปด้วย จึงมีโอกาสแวะถ่ายภาพชุมทางในตำนานครับ แต่เสียดายฝนตก ฟ้าเน่า แสงห่วยมากๆ ภาพที่ได้มาเลยหม่นๆ ไม่สวยเลยครับ



สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง ตั้งอยู่บนทางหลวงสาย ๔๐๑๘ ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถานีรถไฟ ระดับ ๓ ของทางรถไฟสายใต้


สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง เป็นจุดที่รถไฟทุกขบวนที่จะเข้าสายแยกนครศรีธรรมราช ต้องจอด (ยกเว้นรถด่วนและรถด่วนพิเศษบางขบวน) เดิมเรียกว่าสถานีสามแยกนคร แต่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชวินิจฉัยให้กรมรถไฟ แก้ไขเป็นสถานีเขาชุมทองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ สภาพสถานียังคงสภาพสถานีรถไฟสมัยก่อน สวยงามมากครับ

ป้ายชุมทางครับ

เขาชุมทองครับ สามารถมองเห็นได้จากสถานีอย่างชัดเจน

บรรยากาศโดยรอบสงบเงียบ สบายๆ คนไม่พลุกพล่านมากนักครับ

ขณะที่ยื่นชักภาพไม่นาน เสียงตามสายประกาศว่า ขบวนรถเร็วที่ ๑๗๔ นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ กำลังจะเข้าเทียบชานชลา ๑ โชคดีมากๆครับ เลยเปลี่ยนมุมถ่าย รอขบวนรถไฟเข้าสู่สถานีครับ

ขบวนรถเร็วที่ ๑๗๔ นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่สถานี


ขบวนรถเร็วที่ ๑๗๔ นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ เคลื่อนตัวมาอย่างช้าๆ

ภาพนี้ลงตัวพอดีครับ เสียดายฟ้า แสงเน่า ไม่งั้นภาพที่ออกมาคงสวยมากนี้มาก


ขบวนรถเร็วที่ ๑๗๔ นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ

ขบวนรถจอด ๑ นาที ก็เคลื่อนตัวออกจากสถานี


เพลงของระพิน ภูไท "...จากเธอที่ชุมทางเขาชุมทอง เฝ้าแต่แลมอง มองมองจนลับตา เสียงรถด่วน เปิดหวูดก้องกลางพนา คล้าย เธอ เตือนว่า อย่าร้างลา ไปไกล...." เข้ากับภาพนี้มาก

เนื่องจากเวลารัดตัวพอสมควร ต้องเดินทางต่ออีก ลาด้วยภาพนี้ มีโอกาส แสงดีๆ จะกลับมาแก้ตัวครับ


วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กลับเมืองร้อยเกาะ กับขบวนรถเร็วที่ 173

วันเดินทาง วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สถานีต้นทาง กรุงเทพ ( หัวลำโพง )

สถานีปลายทาง สุราษฏร์ธานี

ขบวนรถที่โดยสาร ขบวนรถเร็วที่ 173 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ

ความจากเดิมตอนที่แล้ว สู่เมืองบางกอก กับขบวนรถเร็วที่ 174 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เนื่องจากผมมีภารกิจต้องขึ้นไปสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ประจำปี 2555 ที่กรุงเทพมหานคร โดยจะสอบทั้งหมดเป็นเวลา 3 วัน วันแรก คือ วันอาทิตย์ ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 วันที่ 2 คือ วันเสาร์ ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และวันที่ 3 คือ วันอาทิตย์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 แต่ในรอบนี้มาสามารถไปอยู่กรุงเทพได้หลายวัน เพราะติดงานคดีที่ต้องกลับมาสืบพยานระหว่างสัปดาห์ รอบนี้เลยใช้ระบบสอบเสร็จแล้วเดินทางกลับก่อนแล้วค่อยขึ้นไปใหม่ครับ

รุ่งเช้าของวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556




หลังจากสอบเรียบร้อยครบถ้วนทั้งสามวัน ช่วงบ่ายของวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ผมเดินทางออกจากที่พักไปยังสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือหัวลำโพงเพื่อกลับสุราษฏร์ธานีครับ



มาถึงสถานีรถไฟกรุงเทพ มีเวลาเหลืออีกพอสมควร ขบวนรถที่ใช้เดินทางในวันนี้ มาจอดเทียบในชานชาลาเรียบร้อยแล้ว คือ ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ - นครศรีธรรมราช มีกำหนดออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ ในเวลา 17.35 นาฬิกา



เมื่อขนของขึ้นเก็บบนตู้โดยสารเรียบร้อย แต่ยังมีเวลาอีกนิด เลยเดินถ่ายรูปภายในสถานีรถไฟกรุงเทพหรือหัวลำโพง เพื่อฆ่าเวลาเช่นเคยครับ



เริ่มแรก ด้วยขบวนรถชานเมืองไม่ทราบขบวนครับ ทำลากจูงโดยหัวรถจักร Alsthom (AHK.) หมายเลข 4229 ครับ



ในชานชาลาที่ 9 พนักงานกำลังทำความสะอาดตู้โดยสารของขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช อยู่ครับ



เดินออกมาด้านนอกสถานี ไปยังบริเวณอนุสรณ์ "ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง" ครับ

อนุสรณ์ "ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง" การรถไฟฯ ได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน รำลึกเหตุการณ์สำคัญในอดีต และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 5 ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติ ให้กระทรวงโยธาธิการ ว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพฯถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก ซึ่งต่อมาได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการสร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2434 ครับ


บริเวณบริเวณอนุสรณ์ "ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง" มีหัวรถจักรไอน้ำ หมายเลข 714 ตั้งอยู่ด้วย เลยขอถ่ายรูปสักนิดครับ





ระหว่างนั้น มีหัวรถจักรกำลังเดินตัวเปล่าเข้ามาครับ



หัวรถจักรที่เข้ามานั้น คือ หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric (GE CM22-7i) หรือ GEA หมายเลข 4550 ครับ โดยบริษัท General Electric Transportation Systems รัฐ Pennsylvania USA. เป็นผู้สร้าง ราคาในขณะนั้น 54,350,498 บาท โดยการรถไฟนำมาใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2538 ครับ



ถัดจากหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric (GE CM22-7i) หรือ GEA หมายเลข 4550 ก็มีหัวรถจักรเดินตัวเปล่าเข้ามาอีกคันครับ



หัวรถจักรที่เข้ามานั้น คือ หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric (GE CM22-7i) หรือ GEA หมายเลข 4537 ครับ โดยการรถไฟนำมาใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2538 เช่นเดียวกับหัวรถจักรหมายเลข 4550 ครับ เพียงแต่หัวรถจักรนี้ไม่ได้ทำสีใหม่ครับ



หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric (GE CM22-7i) หรือ GEA หมายเลข 4537 เดินตัวเปล่าเข้าสู่ชานชาลาที่ 8 เพื่อทำขบวนรถระยะใกล้ครับ



ไม่นานก็เคลื่อนขบวนสู่จุดหมายปลายทางต่อไปครับ



ผบ. ขึ้นประจำที่นั่งเรียบร้อย



ส่วนผม ขอจิบอะไรเย็นๆก่อนครับ อิอิ



ไม่นานครับ ก็ถึงเวลาปล่อยขบวนรถที่ 173 ออกจากสถานีกรุงเทพหรือหัวลำโพง


บ๊ายบาย กรุงเทพฯ เจอกันอีกเมื่อชาติต้องการ





ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ขณะเคลื่อนผ่านย่านจอดตู้โดยสารครับ






ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ขณะลอดผ่านสะพานกษัตริย์ศึกครับ โดยด้านขวาของรูป มีหัวรถจักรกำลังทำหน้าที่เป็นรถจักรสับเปลี่ยนตู้โดยสารอยู่ด้วยครับ




หัวรถจักรที่ทำหน้าที่เป็นรถจักรสับเปลี่ยนคู้โดยสาร ได้แก่คุณปู่ GEK UM12C หมายเลข 4009 ทำหน้าที่รถจักรสับเปลี่ยนอยู่ในสถานีกรุงเทพด้วย



แสงอาทิตย์ยามเย็น จากหน้าต่างขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช



มื้อเย็นบนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช วันนี้ 30 บาทครับ





บรรยากาศยามเย็น จากขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช




ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช จอดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟบ้านโป่ง



จากนั้น ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ก็เคลื่อนขบวนสู่เส้นทางสายใต้อย่างเต็มตัว



ราตรีสวัสดิ์ ด้วยดวงจันทร์ที่หน้าต่างของขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ - นครศรีธรรมราช



ตื่นมาอีกที ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ก็มาจอดเติมน้ำ ที่สถานีรถไฟชุมพรครับ




จากนั้นหลับต่อ ตื่นมาอีกที พระอาทิตย์กำลังขึ้นแล้วครับ เลยจัดไปหลายรูป ซึ่งการถ่ายภาพบนขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ที่กำลังวิ่งนั้น ยากพอสมควร เล่นเอาเบลอไปหลายรูปครับ







ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ขณะผ่านบ่อน้ำร้อนบ่อเล็กๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในบ่อน้ำร้อนในสำนักสงฆ์ธารน้ำร้อน ที่ผุดอยู่ข้างทางรถไฟ แถวๆอำเภอไชยาครับ



ภาพยาวๆ ของขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ก่อนถึงสถานีรถไฟมะลวน





และแล้ว ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ก็มาถึงสะพานจุลจอมเกล้า ก่อนเข้าสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานีครับ





ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช กำลังเข้าสู่สถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี



ถึงสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี เวลา 07.00 นาฬิกา เมื่อลงจากขบวนรถเรียบร้อย ก็เข้าเมืองเตรียมลุยงานกันต่อไปครับ



ปล. ในรอบนี้ ต้องขอขอบคุณท่าน ทค.กิจเกษม ชูศักดิ์ อีกครั้ง ที่อุตส่าห์อาสามารับและพาผมไปส่งที่บ้านสวนมา ณ โอกาสนี้ด้วย