วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ยามเย็นกับรถไฟสายใต้

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2665 ตั้งใจไว้จะไปเที่ยวงานครบรอบ 98 ปี พระราชทานนามสุราษฏร์ธานี ที่บริเวณตลาดสถานีรถไฟ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานีครับ หลังจากเสร็จงานแล้ว จึงจัดเตรียมกล้องชุดใหญ่ มุ่งหน้าไปอำเภอพุนพินครับ

เดินทางไปถึงพุนพิน เวลาบ่ายสี่โมงเย็นเศษ วันนี้ไม่มีฝน แดดดีมาก เลยถือโอกาสถ่ายรูปขบวนรถไฟสายใต้ ที่บริเวณสะพานจุลจอมเกล้าซะเลย




วันนี้แดดดีครับ อากาศเลยร้อนพอสมควร แต่ไม่เป็นปัญหาครับ


ระหว่างรอขบวนรถไฟ เลยถือโอกาสออกกำลังด้วยการเดินเบาๆ และเก็บภาพสะพานหลายๆมุมไปพลางๆก่อน




ประมาณห้าโมงเย็น ขบวนรถไฟต่างๆ ก็เริ่มทยอยมาครับ


เริ่มด้วยขบวนรถท้องถิ่นที่ 498 สุราษฏร์ธานี - คีรีรัฐนิคม ครับ





ทำขบวนด้วยหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า GE หมายเลข 4007 ครับ


ขบวนนี้จะว่าไปแล้ว เหมือนเป็นรถไฟรับส่งนักเรียนมากกว่า เด็กนักเรียนทั้งคันครับ


หลังจากขบวนรถท้องถิ่นที่ 489 ผ่านไปได้ไม่นาน ตามมาด้วยขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ



สำหรับขบวนรถเร็ว ที่ 174 ทำขบวนด้วยหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric (GEA) หมายเลข 4535 ครับ




วันนี้ค่อนข้างตรงต่อเวลาครับสำหรับขบวนนี้






ไม่นานครับ ตามมาด้วยขบวนรถเร็วที่ 168 กันตัง - กรุงเทพ


ทำขบวนด้วยหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom (ALS) หมายเลข 4109 (เครื่องยนต์ MTU)


ปกติขบวนนี้มักเสียเวลาบ่อย แต่วันนี้ถือว่าค่อนข้างตรงต่อเวลาครับ




ขบวนต่อไป คือขบวนรถด่วนที่ 86 นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ


ซึ่งกำหนดขบวนรถด่วนที่ 86 จะมาถึงสุราษฏร์ธานี เวลาประมาณ 18.23 นาทีครับ เมื่อยังไม่ถึงเวลา เลยถ่ายบรรยากาศรอบๆไปก่อนครับ


เพื่อความสะดวกระหว่างรอขบวนรถไฟ วันนี้เลยแอบเอาเจ้าบีที มาจอดถึงบนสะพานเลยครับ


เปิดท้ายกะบะนอนรอได้เลย





จริงๆจะมีขบวนรถด่วนพิเศษ ที่ 43 กรุงเทพ - สุราษฏร์ธานี จะมาถึงสถานีสุราษฏร์ธานี ประมาณ ห้าโมงเย็นเศษๆ แต่จะค่ำแล้วยังไม่มา แสดงว่าเสียเวลาอีกแล้วครับท่าน




บรรยากาศยามพลบค่ำ







แสงไฟจากบริเวณงานครับ







เวลาเกือบจะ 1 ทุ่มแล้ว ขบวนรถด่วนที่ 86 ซึ่งปกติจะมาถึงสุราษฏร์ธานี เวลาประมาณ 18.23 นาทียังไม่มีวี่แววว่าจะมาถึง เลยถ่ายบรรยากาศรอบๆไปก่อนครับ




ถ่ายภาพไปพอสมควรครับ ไม่มีวี่แววว่าขบวนไหนจะมา เลยตั้งใจว่าจะเก็บภาพอีกสักนิด ก็จะไปเที่ยวงานแล้วครับ



เมื่อเก็บของเรียบแล้ว ก็ได้ยินเสียงหวูดมาแต่ไกล และแล้ว ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 43 กรุงเทพ - สุราษฏร์ธานี ก็มาถึงครับ




เปิดหวูดยาวมาก รีบจัด เนื่องจากผิดเวลาไปกว่า 2 ชั่วโมง





เลยได้ภาพบรรยากาศแบบนี้ สวยไปอีกแบบ




หลังจากขบวนรถด่วนพิเศษ ที่ 43 ผ่านไป ส่วนขบวนรถด่วนที่ 86 ก็ไม่มีทีท่าว่าจะมา จึงเดินทางไปสถานที่จัดงานครบรอบ 98 ปี พระราชทานนามสุราษฏร์ธานี ที่บริเวณตลาดสถานีรถไฟ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานีตามที่ตั้งใจไว้ต่อไป ขอบคุณครับ

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง

ขากลับจากพัทลุง คราวที่แล้วเข้าไปไม่ถึงตัวสถานีเนื่องจากไม่ทราบเส้นทาง คราวนี้มีจีพีเอสไปด้วย จึงมีโอกาสแวะถ่ายภาพชุมทางในตำนานครับ แต่เสียดายฝนตก ฟ้าเน่า แสงห่วยมากๆ ภาพที่ได้มาเลยหม่นๆ ไม่สวยเลยครับ



สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง ตั้งอยู่บนทางหลวงสาย ๔๐๑๘ ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถานีรถไฟ ระดับ ๓ ของทางรถไฟสายใต้


สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง เป็นจุดที่รถไฟทุกขบวนที่จะเข้าสายแยกนครศรีธรรมราช ต้องจอด (ยกเว้นรถด่วนและรถด่วนพิเศษบางขบวน) เดิมเรียกว่าสถานีสามแยกนคร แต่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชวินิจฉัยให้กรมรถไฟ แก้ไขเป็นสถานีเขาชุมทองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ สภาพสถานียังคงสภาพสถานีรถไฟสมัยก่อน สวยงามมากครับ

ป้ายชุมทางครับ

เขาชุมทองครับ สามารถมองเห็นได้จากสถานีอย่างชัดเจน

บรรยากาศโดยรอบสงบเงียบ สบายๆ คนไม่พลุกพล่านมากนักครับ

ขณะที่ยื่นชักภาพไม่นาน เสียงตามสายประกาศว่า ขบวนรถเร็วที่ ๑๗๔ นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ กำลังจะเข้าเทียบชานชลา ๑ โชคดีมากๆครับ เลยเปลี่ยนมุมถ่าย รอขบวนรถไฟเข้าสู่สถานีครับ

ขบวนรถเร็วที่ ๑๗๔ นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่สถานี


ขบวนรถเร็วที่ ๑๗๔ นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ เคลื่อนตัวมาอย่างช้าๆ

ภาพนี้ลงตัวพอดีครับ เสียดายฟ้า แสงเน่า ไม่งั้นภาพที่ออกมาคงสวยมากนี้มาก


ขบวนรถเร็วที่ ๑๗๔ นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ

ขบวนรถจอด ๑ นาที ก็เคลื่อนตัวออกจากสถานี


เพลงของระพิน ภูไท "...จากเธอที่ชุมทางเขาชุมทอง เฝ้าแต่แลมอง มองมองจนลับตา เสียงรถด่วน เปิดหวูดก้องกลางพนา คล้าย เธอ เตือนว่า อย่าร้างลา ไปไกล...." เข้ากับภาพนี้มาก

เนื่องจากเวลารัดตัวพอสมควร ต้องเดินทางต่ออีก ลาด้วยภาพนี้ มีโอกาส แสงดีๆ จะกลับมาแก้ตัวครับ