วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กลับเมืองร้อยเกาะ กับขบวนรถเร็วที่ 173

วันเดินทาง วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สถานีต้นทาง กรุงเทพ ( หัวลำโพง )

สถานีปลายทาง สุราษฏร์ธานี

ขบวนรถที่โดยสาร ขบวนรถเร็วที่ 173 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ

ความจากเดิมตอนที่แล้ว สู่เมืองบางกอก กับขบวนรถเร็วที่ 174 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เนื่องจากผมมีภารกิจต้องขึ้นไปสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ประจำปี 2555 ที่กรุงเทพมหานคร โดยจะสอบทั้งหมดเป็นเวลา 3 วัน วันแรก คือ วันอาทิตย์ ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 วันที่ 2 คือ วันเสาร์ ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และวันที่ 3 คือ วันอาทิตย์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 แต่ในรอบนี้มาสามารถไปอยู่กรุงเทพได้หลายวัน เพราะติดงานคดีที่ต้องกลับมาสืบพยานระหว่างสัปดาห์ รอบนี้เลยใช้ระบบสอบเสร็จแล้วเดินทางกลับก่อนแล้วค่อยขึ้นไปใหม่ครับ

รุ่งเช้าของวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556




หลังจากสอบเรียบร้อยครบถ้วนทั้งสามวัน ช่วงบ่ายของวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ผมเดินทางออกจากที่พักไปยังสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือหัวลำโพงเพื่อกลับสุราษฏร์ธานีครับ



มาถึงสถานีรถไฟกรุงเทพ มีเวลาเหลืออีกพอสมควร ขบวนรถที่ใช้เดินทางในวันนี้ มาจอดเทียบในชานชาลาเรียบร้อยแล้ว คือ ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ - นครศรีธรรมราช มีกำหนดออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ ในเวลา 17.35 นาฬิกา



เมื่อขนของขึ้นเก็บบนตู้โดยสารเรียบร้อย แต่ยังมีเวลาอีกนิด เลยเดินถ่ายรูปภายในสถานีรถไฟกรุงเทพหรือหัวลำโพง เพื่อฆ่าเวลาเช่นเคยครับ



เริ่มแรก ด้วยขบวนรถชานเมืองไม่ทราบขบวนครับ ทำลากจูงโดยหัวรถจักร Alsthom (AHK.) หมายเลข 4229 ครับ



ในชานชาลาที่ 9 พนักงานกำลังทำความสะอาดตู้โดยสารของขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช อยู่ครับ



เดินออกมาด้านนอกสถานี ไปยังบริเวณอนุสรณ์ "ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง" ครับ

อนุสรณ์ "ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง" การรถไฟฯ ได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน รำลึกเหตุการณ์สำคัญในอดีต และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 5 ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติ ให้กระทรวงโยธาธิการ ว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพฯถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก ซึ่งต่อมาได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการสร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2434 ครับ


บริเวณบริเวณอนุสรณ์ "ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง" มีหัวรถจักรไอน้ำ หมายเลข 714 ตั้งอยู่ด้วย เลยขอถ่ายรูปสักนิดครับ





ระหว่างนั้น มีหัวรถจักรกำลังเดินตัวเปล่าเข้ามาครับ



หัวรถจักรที่เข้ามานั้น คือ หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric (GE CM22-7i) หรือ GEA หมายเลข 4550 ครับ โดยบริษัท General Electric Transportation Systems รัฐ Pennsylvania USA. เป็นผู้สร้าง ราคาในขณะนั้น 54,350,498 บาท โดยการรถไฟนำมาใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2538 ครับ



ถัดจากหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric (GE CM22-7i) หรือ GEA หมายเลข 4550 ก็มีหัวรถจักรเดินตัวเปล่าเข้ามาอีกคันครับ



หัวรถจักรที่เข้ามานั้น คือ หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric (GE CM22-7i) หรือ GEA หมายเลข 4537 ครับ โดยการรถไฟนำมาใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2538 เช่นเดียวกับหัวรถจักรหมายเลข 4550 ครับ เพียงแต่หัวรถจักรนี้ไม่ได้ทำสีใหม่ครับ



หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric (GE CM22-7i) หรือ GEA หมายเลข 4537 เดินตัวเปล่าเข้าสู่ชานชาลาที่ 8 เพื่อทำขบวนรถระยะใกล้ครับ



ไม่นานก็เคลื่อนขบวนสู่จุดหมายปลายทางต่อไปครับ



ผบ. ขึ้นประจำที่นั่งเรียบร้อย



ส่วนผม ขอจิบอะไรเย็นๆก่อนครับ อิอิ



ไม่นานครับ ก็ถึงเวลาปล่อยขบวนรถที่ 173 ออกจากสถานีกรุงเทพหรือหัวลำโพง


บ๊ายบาย กรุงเทพฯ เจอกันอีกเมื่อชาติต้องการ





ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ขณะเคลื่อนผ่านย่านจอดตู้โดยสารครับ






ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ขณะลอดผ่านสะพานกษัตริย์ศึกครับ โดยด้านขวาของรูป มีหัวรถจักรกำลังทำหน้าที่เป็นรถจักรสับเปลี่ยนตู้โดยสารอยู่ด้วยครับ




หัวรถจักรที่ทำหน้าที่เป็นรถจักรสับเปลี่ยนคู้โดยสาร ได้แก่คุณปู่ GEK UM12C หมายเลข 4009 ทำหน้าที่รถจักรสับเปลี่ยนอยู่ในสถานีกรุงเทพด้วย



แสงอาทิตย์ยามเย็น จากหน้าต่างขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช



มื้อเย็นบนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช วันนี้ 30 บาทครับ





บรรยากาศยามเย็น จากขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช




ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช จอดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟบ้านโป่ง



จากนั้น ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ก็เคลื่อนขบวนสู่เส้นทางสายใต้อย่างเต็มตัว



ราตรีสวัสดิ์ ด้วยดวงจันทร์ที่หน้าต่างของขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ - นครศรีธรรมราช



ตื่นมาอีกที ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ก็มาจอดเติมน้ำ ที่สถานีรถไฟชุมพรครับ




จากนั้นหลับต่อ ตื่นมาอีกที พระอาทิตย์กำลังขึ้นแล้วครับ เลยจัดไปหลายรูป ซึ่งการถ่ายภาพบนขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ที่กำลังวิ่งนั้น ยากพอสมควร เล่นเอาเบลอไปหลายรูปครับ







ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ขณะผ่านบ่อน้ำร้อนบ่อเล็กๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในบ่อน้ำร้อนในสำนักสงฆ์ธารน้ำร้อน ที่ผุดอยู่ข้างทางรถไฟ แถวๆอำเภอไชยาครับ



ภาพยาวๆ ของขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ก่อนถึงสถานีรถไฟมะลวน





และแล้ว ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ก็มาถึงสะพานจุลจอมเกล้า ก่อนเข้าสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานีครับ





ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช กำลังเข้าสู่สถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี



ถึงสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี เวลา 07.00 นาฬิกา เมื่อลงจากขบวนรถเรียบร้อย ก็เข้าเมืองเตรียมลุยงานกันต่อไปครับ



ปล. ในรอบนี้ ต้องขอขอบคุณท่าน ทค.กิจเกษม ชูศักดิ์ อีกครั้ง ที่อุตส่าห์อาสามารับและพาผมไปส่งที่บ้านสวนมา ณ โอกาสนี้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น