วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

เที่ยวรถไฟสายน้ำตก ตอนที่ 1

เที่ยวรถไฟสายน้ำตก ตอนที่ 1
เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา หลังจากผมทำการสอบวันแรก (เสาร์ที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๕ ) เรียบร้อย จึงถือโอกาสพักสมองสักนิดครับ ด้วยการนั่งรถไฟขบวนพิเศษนำเที่ยว ทางรถไฟสายมรณะ สู่น้ำตกไทรโยคน้อยครับ ซึ่งผมซื้อตั๋วไว้เรียบร้อยเมื่อเดินทางมาถึงกรุงเทพครับ



           การนั่งรถไฟเที่ยวครั้งนี้ เป็นการท่องเที่ยวโดยรถไฟขบวนพิเศษ ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดขึ้นในวันหยุดครับ โดยรถไปสายเที่ยวน้ำตกไทรโยคน้อยนี้ เป็นขบวนพิเศษ ที่ ๙๐๙ ครับ ซึ่งผมอยากไปหลายครั้งแต่ไม่มีโอกาส คราวนี้จึงไม่พลาดครับ

           กำหนดการเดินทางมีดังต่อไปนี้ครับ



    โดยค่าโดยสารในการเดินทางไปเที่ยวสายนี้ ไปกลับ เพียง ๑๒๐ บาทต่อคนเท่านั้น ซึ่งถือว่าถูกมากๆ

     เมื่อถึงวันเดินทาง กำหนดการเดินทาง ขบวนพิเศษขบวนนี้ ออกจากหัวลำโพง เวลา ๐๖.๓๐ นาฬิกาครับ เนื่องจากสถานที่ผมพักอยู่ไกลจากหัวลำโพงพอสมควร จึงตื่นเช้าออกจากที่พักเวลา ๐๕.๐๐ นาฬิกา ตามสโลแกน ไปก่อนเวลาสบายใจกว่าครับ ซึ่งไปถึงหัวลำโพงเวลาก่อนหกโมงเช้าเล็กน้อย  เมื่อพอมีเวลา จึงรองท้องก่อนด้วยโจ๊กหมูราชวัตร ซึ่งขายอยู่ในหัวลำโพง ใส่ไข่ ราคา ๓๐ บาทครับ




           หลังจากรองท้องเรียบร้อย จึงเข้าสู่ชานชลา ซึ่งขบวนรถไฟขบวนพิเศษที่ผมจะเดินทาง จอดรอที่ชานชลาเรียบร้อยแล้วครับ





 นอกจากขบวนพิเศษ ที่ ๙๐๙ ของผมแล้ว ยังมีขบวนพิเศษที่ ๙๑๐ นำเที่ยวสวนสนประดิพัทธ์ ติดพ่วงด้วยครับ ส่วนขบวนที่ ๙๑๐ จะแยกจากกันเมื่อไหร่ ติดตามกันต่อไปครับ

 เมื่อพร้อมแล้ว ก็ขึ้นประจำที่นั่งตามตั๋วเลยครับ แต่สงสัยชุดผมจะมาถึงเช้าเกินไปละมั้ง บนรถมีนักท่องเที่ยวบางตาครับ แต่สอบถามเจ้าหน้าที่รถไฟแล้ว บอกว่าวันนี้เต็มทุกที่นั่งครับ



 เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ท้องฟ้าเริ่มสว่างไสว และขบวนรถไฟก็ออกจากหัวลำโพง ตรงตามเวลาเป๊ะครับ ซึ่งใครมาไม่ทัน ก็ต้องตามไปขึ้นได้ที่สถานีบางซื่อ หรือนครปฐมนู้นเลย







กรุงเทพยามเช้าวันอาทิตย์





ออกจากกรุงเทพได้สักระยะ ก็เข้าเขตขานเมืองครับ อากาศยามเช้าสดชื่นไร้มลพิษนี่สดชื่นจริงๆครับ





ก่อนถึงสถานีศาลายา ยังคงเหลือร่องรอยเกตุการณ์น้องน้ำมาหาพี่กรุงให้เห็นอยู่บ้างครับ เช่นไม้ผลที่ตายยืนต้นเนื่องจากน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน หรือบริเวณที่ลุ่มซึ่งยังมีน้ำท่วมขังอยู่ครับ






สองสาวที่ร่วมทริปไปด้วยครับ



พร้อมอุปกรณ์การถ่ายภาพเต็มเหนี่ยวครับ



 เหมือนมืออาชีพเลย ๕๕๕๕






หลังจากเลยสถานีศาลลายาไม่นาน พนักงานการรถไฟประจำขบสนรถก็ทำการตรวจตั๋วครับ ซึ่งยอมรับเลยครับ ว่าให้คำแนะนำและบริการดีมาก



นักท่องเที่ยวร่วมขบวนทั้งไทยและเทศ เต็มโบกี้ครับ



 ก่อนเข้าสถานีนครปฐมเพื่อสักการระองค์พระปฐมเจดีย์ พอดีกับขวบนรถกำลังวิ่งผ่านสะพานเสาวภา จึงเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกครับ



ข้ามสะพานเสาวภา เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำท่าจีนครับ ซึ่งสภาพสะพานเก่าจะอยู่ด้านขวาของภาพครับ ต่อมามีการสร้างสะพานเสาวภาเพิ่มเติมซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า แต่มีลักษณะไม่เหมือนกับสะพานแรกครับ



 และแล้วก็มาถึงสถานีรถไฟนครปฐมครับ ซึ่งจะเป็นสถานที่แรกที่รถไฟจอดให้แวะเที่ยวครับ




กำหนดการ ขบวนรถจะจอดให้เที่ยวชม และสักการระองค์พระปฐมเจดีย์ ๔๐ นาทีครับ แต่เนื่องจากวัดพระปฐมเจดีย์กับสถานีรถไฟนครปฐม อยู่ห่างกันพอควร งานนี้เลยต้องทำเวลาหน่อยครับ



บางท่านก็นั่งสามล้อครับ แต่ส่วนผมและทีมงานเดินไปครับ ถือโอกาสยืดเส้นสายไปด้ว



เดินไม่นานครับ ก็ถึงองค์พระปฐมเจดีย์ พอดีภายในวัดมีการจัดงานด้วย ผู้คนจึงมากพอสมควร แม้เวลาจะเช้าอยู่ก็ตาม ลูกเกตุและน้องกิ๊กก็ไปสักการระองค์พระปฐม ส่วนผม เนื่องจากเวลามีน้อย จึงหยิบกล้องและถ่ายภาพมาบางส่วนครับ












 และไม่พลาดที่จะทำบุญครับ



 ดูเวลาแล้วใกล้ถึงเวลาเดินทางต่อไปแล้วครับ จึงถ่ายรูปไว้หน่อย จากนั้นผมเดินกลับไปยังสถานีรถไฟครับ ส่วนสาวๆ เดินเล่นและแวะซื้อขนม ไว้กินบนรถระหว่างเดินทางเล็กน้อยด้วย



 ผมมาถึงสถานี จึงเก็บภาพอีกนิดหน่อยครับ






ส่วนต่อของขบวนที่ ๙๐๙ และ ๙๑๐ ครับ  ผู้โดยสารจะต้องขึ้นให้ถูกตู้ถูกขบวนนะครับ เพราะหลังจากนี้ ขบวนทั้งสองจะแยกไปคนละเส้นทาง หากนั่งผิดตู้ อาจจะไปสถานที่หมายผิดจากความตั้งใจได้นะครับ



แอบไปถ่ายห้องขับครับ รู้หรือเปล่าครับ ว่าจริงๆแล้ว รถไฟไม่มีพวงมาลัยนะครับ



 ใกล้ถึงเวลาที่สถานีนครปฐมจะต้องปล่อยขบวนรถพิเศษเดินทางต่อไปครับ มีการประกาศเตือนจากสถานีแล้ว ซึ่งพอดีกับที่สาวๆ มาถึงขบวนรถพอดี



และแน่นอน ไม่พลาดที่จะมีขนมติดมือขึ้นรถมาด้วยครับ



เมื่อสถานีนครปฐมประกาศเตือนครั้งสุดท้าย ขบวนรถแผดเสียงหวูดเพื่อเตือนอีกครั้ง ก่อนปิดประตูและเคลื่อนออกสู่สถานีนครปฐม เพื่อแวะชุมทางหนองปลาดุกเป็นสถานีต่อไปครับ



หลังจากขวนรถพิเศษร่วม ๙๐๙ และ ๙๑๐ ออกจากสถานีนครปฐมได้ไม่นาน ก็ถึงชุมทางหนองปลาดุกครับ



สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก ตั้งอยู่บ้านหนองปลาดุก หมู่ที่  ๖ ตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นสถานีรถไฟ ระดับ ๔ เป็นชุมทางที่แยกไปรถไฟสายใต้ รถไฟสายตะวันตก และทางรถไฟสายสุพรรณบุรีครับ โดยสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก นับเป็นสถานีรถไฟต้นทางของทางรถไฟสายมรณะ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ด้วยครับ ( ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org )

เมื่อขวนรถมาถึงชุมทางหนองปลาดุกแล้วครับ ก็ถึงเวลาที่เราต้องแยกกับขบวนที่ ๙๑๐ แล้วครับ โดยขบวนที่ ๙๑๐ จะแยกลงไปเส้นทางรถไฟสายใต้ครับ ส่วนขบวนของผมจะแนกไปสายตะวันตกสู่กาญจนบุรี เมื่อรถจอดสนิทแล้ว เจ้าหน้าที่จึงทำการแยกขบวนออกจากกันครับ



 ขบวนแยกจากกันแล้วครับ





 เมื่อขวนที่ ๙๐๙ และ ๙๑๐ แยกออกจากกันแล้ว ขบวนของผมก็เดินทางสู่กาญจนบุรีทันทีครับ



 ซึ่งเมื่อเลี้ยวออกจากสายหลักนี้แล้ว ก็จะเข้าสู่เส้นทางรถไฟสายตะวันตก สู่กาญจนบุรีต่อไปครับ






เมื่อขบวนพิเศษ ที่ ๙๐๙ สายที่ผมเดินทาง แยกจากขบวนพิเศษที่ ๙๑๐ ซึ่งจะเดินทางต่อไปสวนสนประดิพัทธ์แล้ว ผมก็เข้าสู่ทางรถไฟสายเส้นทางประวัติศาสตร์ครับ

เนื่องจากวันที่ผมเดินทาง ฟ้าสดใส แดดจัดมากครับ งานนี้จึงหยิบเจ้าฟิลเตอร์ CPL เข้าประจำการเพื่อทำให้สีท้องฟ้าสวยขึ้น เมื่อท้องฟ้าประกอบกับวิวสองข้างทาง จึงทำให้ได้ภาพที่ค่อนข้างสวยงามมากๆครับ




เมื่อเริ่มเข้าเขตกาญจนบุรี ที่เห็นได้ชัดและรู้สึกได้ ก็คือ อากาศที่ร้อนและความแห้งแล้งที่กำลังมาเยือน ดูได้จากเขาหินบริเวณรอบๆ ต้นไม้ซึ่งเขียวขจี กลับเปล่งสีเหลืองของใบไม้ทั้งเขา ดังนั้น งานนี้จึงทำให้ต้อง  เตรียมน้ำดื่มสำรองไว้ระหว่างเดินทางเยอะพอสมควรครับ



เมื่อก่อนจะได้ข่าวรถไฟสายกาญจนบุรีตกรางบ่อย ก็เนื่องจากสภาพไม้หมอนรถไฟผุ เนื่องจากสร้างตั้งแต่สมัยสงครามโลก จึงทำให้การยึดรางนั้นหลวมคลอน แต่ตอนนี้ การรถไฟกำลังปรับปรุงสภาพทาง โดยเปลี่ยนหมอนรองรางรถไฟจากไม้ มาเป็นหมอนคอนกรีตแล้วครับ ตอนนี้จึงไม่ต้องห่วงเรื่องรถไฟจะตกรางพอสมควรแล้วครับ





และแล้วก็มาถึงสถานีรถไฟกาญจนบุรีครับ



แต่ขบวนรถจอดเพียงแป๊ปเดียว ก็ออกเดินทางต่อไปยังป้ายหยุดรถสะพานแควใหญ่ ซึ่งกำหนดการ ขบวนรถไฟจะมาจอดที่สถานีรถไฟกาญจนบุรีในขากลับ เพื่อให้แวะชมสุสานทหารพันธมิตรครับ



และแล้วก็มาถึงป้ายหยุดรถสะพานแควใหญ่ครับ



ตรงนี้ เนื่องจากการเดินทางกินเวลาตามกำหนดการไปพอควรครับ เจ้าหน้าที่การรถไฟจึงแวะให้ถ่ายภาพในจุดนี้ ๓๐ นาทีครับ






เมื่อเวลามีน้อย ก็ไม่ต้องพูดอะไรมาก สะพายกล้องเดินไปยังสะพานเลยครับ ไปถึงก็ถ่ายๆๆๆ ครับ





ตอนไปถึงที่สะพานแดดแรงมากครับแต่ก็ไม่หวั่นครับ ถ่ายลูกเดียว








เมื่อมาถึงที่แล้ว ก็ต้องถ่ายคู่กับสะพานสักหน่อย











ถ่ายคู่กับระเบิด ดูสิว่าใครมีอนุภาพแรงกว่ากัน



หลังจากถ่ายคู่กับสะพานแล้ว ตอนแรกคิดว่าจะไปเดินบนสะพานเพื่อหามุมถ่ายรูปครับ แต่ดูจากปริมาณคนที่แน่นบนสะพานแล้ว เข้าไปก็คงไม่มีมุมถ่ายสวยๆ เลยบายดีกว่าครับ



เมื่อถ่ายบนสะพานไม่ได้เลยถ่ายอะไรรอบๆสะพานรอเวลาขึ้นรถครับ









มองดูนาฬิกาแล้ว ใกล้ถึงเวลาขบวนรถไฟออกเดินทางไปน้ำตกแล้วครับ จึงลาด้วยภาพคู่อีกนิดหน่อย จากนั้นจึงเดินกลับไปขึ้นรถไฟครับ






ระหว่างเดินกลับขึ้นรถไฟ สาวๆก็ไปซื้อน้ำเตรียมสำหรับการเดินทางไปยังสถานีน้ำตก อีกชั่วโมงครึ่งครับ




ส่วนผมเดินย้อนไปถ่ายหัวรถจักรไอน้ำ หมายเลข ๗๑๙ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆกับสะพานครับ






จากนั้นเสียงหวูดก็ดังขึ้น ผมกลับขึ้นรถไฟเพื่อเตรียมถ่ายขณะรถไฟวิ่งผ่านสะพานครับ



เมื่อทางสะดวก และนักท่องเที่ยวที่อยู่บนสะพาน หลบเข้าช่องที่ทำไว้หลบรถไฟบนสะพานแล้ว  พนักงานก็ให้สัญญาณธงเขียว ปล่อยรถวิ่งผ่านสะพาน



เมื่อเข้าสู่สะพาน ขบวนรถ เดินเครื่องไปด้วยความเร็วอย่างช้าๆครับ







แม่น้ำแควใหญ่ครับ เนื่องจากการถ่ายภาพบนรถไฟที่กำลังเคลื่อนที่ ค่อนข้างหาจังหวะสวยๆยากครับ หากช้าไปมุมสวยๆก็จะผ่านเลยไป จึงจำต้องกดถ่าย เอาเท่าที่อำนวยครับ



วันที่ผมไปเที่ยวนั้น อยู่ในช่วงเทศกาลตรุษจีน จึงมีนักท่องเที่ยวขาวๆหมวยๆเยอะครับ





ขบวนวิ่งผ่านสะพานมาสักระยะ จึงเดินไปบริเวณท้ายขบวนครับ แต่ใช่ผมคนเดียวที่ไหน ที่ตั้งใจไปถ่ายรูป นักท่องเที่ยวหลายๆคนก็ต้องการมุมนี้เช่นกัน และยืนออกันแน่นท้ายขบวน กว่าผมจะไดถ่าย ก็เมื่อขบวนจะพ้นจากสะพานแล้วครับ  งานนี้จึงต้องพึงเลนส์เทเล เพื่อซูมกลับมายังสะพาน เพื่อให้ได้รูปที่ต้องการครับ








ได้มาสามสี่ภาพก็พอใจแล้วครับ  ทิ้งด้วยภาพส่วนท้ายของสะพานครับ




 เมื่อพ้นจากสะพานข้ามแม่น้ำแควแล้ว ขบวนรถเริ่มเดินเครื่องด้วยความเร็วอีกครั้ง มุ่งสู่สถานทีน้ำตกครับ





หลังจากขบวนรถไฟออกจากป้ายหยุดรถสะพานแควใหญ่ใหญ่ ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำแควแล้ว ก็เร่งเครื่องสู่สถานีน้ำตกครับ

วิวข้างทางรถไฟสวยครับ เหมือนเมืองนอกเลย



 ผ่านสะพานแม่น้ำแควได้ไม่นาน ก็มาถึงป้ายหยุดรถ บ้านเขาปูนครับ




จริงแล้วไม่มีอะไร แต่เลยจากสถานีไปอีกนิดหน่อย ก็จะผ่านช่องเขา ซึ่งมีการขุดไว้เป็นช่องเขา เพื่อสร้างทางรถไฟสายนี้ครับ 




เนื่องจากเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า หรือ เส้นทางรถไฟสายมรณะนี้ ตลอดเส้นทาง มีหลายจุดครับที่มีเนินหินภูเขาขวางอยู่ ดังนั้น การต่อรางรถไฟไปถึงพม่า จึงต้องใช้คนงาน รวมทั้งเชลยสงครามเป็นผู้ขุดครับ โดยงานส่วนใหญ่ล้วนใช้แรงคนทั้งสิ้นครับ


 จากข้อมูลที่หามาได้ การสกัดภูเขาโดยส่วนใหญ่จะทำด้วยแรงมือของเชลยครับ โดยบางครั้ง เชลยศึกต้องปีนลงไปสกัดในช่องเขาซึ่งบางช่วงสูงถึง ๑๑ เมตร จนแทบไม่มีอากาศหายใจ ทั้งในการสร้างทางรถไฟสายนี้ เชลยยังต้องทำงานท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวในช่วงเดือนมีนาคมในภาวะขาดแคลนน้ำและอาหาร จึงทำให้เชลยศึกหลายรายต้องมาเสียชีวิตที่นี้ครับ



แต่ช่องเขาตรงนี้ไม่ได้เรียก"ช่องเขาขาด" หรือ "ช่องไฟนรก" ที่ตั้งอยู่บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งความทรงจำนะครับ แต่การขุดสร้างมีลักษณะเหมือนกันครับ







ขณะขบวนรถวิ่งผ่านช่องเขานี้  เมื่อดูจากสายตา ผาหินกับตัวรถไฟ ห่างกันเล็กน้อยครับ  การถ่ายถ่ายนี้ จึงจำเป็นต้องใช้การซูมเขาไปที่ช่องเขา จึงทำให้เห้ดูเหมือนว่าถ่ายในระยะกระชั้นชิดครับ เมื่อผมถ่ายภาพนี้เสร็จ จึงจำเป็นต้องรีบหลบ หากไม่ทัน หัวคงบดกับผาหินแน่นอนครับ







ผ่านช่องเขาแล้วครับ จึงย้อนกลับไปถ่ายอีกด้านของช่องเขาครับ


เมื่อผ่านช่องเขาแล้ว ก็เข้าสู่ทางตรงซึ่งรถไฟสามารถใช้ความเร็วได้พอควรครับ


สองข้างทางที่ผ่านไม่มีอะไรครับ มีแต่วิวเขาแห้งๆ ตัดกับพืชไร่ประเภทใช้น้ำน้อย และพืชล้มลุกบ้างครับ เช่นอันนี้ สวนดอกดาวเรืองครับ


ไร่ข้าวโพด โฟกัสหลุดไปนิด อิอิอิ


 แปลงนี้ไม่ได้ปลูกอะไรที แต่เกษตรกรเตรียมหน้าดินไว้พร้อมแล้วครับ



 แล้งแบบนี้ ยังเห็นนาข้าวด้วย



 พืชเศรษฐกิจของภาคใต้ ที่นี้ก็เริ่มปลูกกันบ้างแล้วครับ



 ท้องฟ้าไร้เมฆแบบนี้ หมุน CPL สุดๆไปเลย ๕๕






 ชมวิวเพลินเลยครับ





 และแล้ว ก็มาถึงที่หยุดรถไฟถ้ำกระแซครับ



 ที่หยุดรถไฟถ้ำกระแซ ตั้งอยู่ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรีครับ โดยตัวสถานีนี้แบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ที่หยุดรถถ้ำกระแซ ส่วนที่ ๑ สวนไทรโยค และตัวสถานีเก่า ส่วนที่ ๒ สะพานถ้ำกระแซ และส่วนที่ ๓ ย่านร้านค้า และตัวสถานีใหม่ครับ



 โดยที่หยุดรถไฟถ้ำกระแซ เป็นที่หยุดรถหนึ่งที่สำคัญของทางรถไฟสายมรณะ โดยบริเวณที่หยุดรถ จะมีสะพานถ้ำกระแซ ซึ่งเป็นสะพานไม้เลียบหน้าผาที่มีความยาวกว่า ๔๕๐ เมตรครับ




  
เนื่องจาก ในการเดินทางรอบนี้ เป็นการเดินทางครั้งแรก จึงพลาดไปเรื่องเลขที่นั่งครับ ตอนซื้อตั๋วก็ไม่ได้ขอที่นั่งด้านมองเห็นแม่น้ำแคว แต่พี่พนักงานขายดันจัดที่นั่งด้านที่ติดกับหน้าผา จึงทำให้ไม่สามารถถ่ายมุมที่เห็นแม่น้ำแควได้ครับ ในช่วงแรกจึงถ่ายได้แต่ภาพด้านฝั่งผาหินครับ


ซึ่งหน้าผาเองก็เฉียดตัวรถไปฉิวเฉียดเท่านั้น จะชโงกออกจากหน้าต่างไปถ่ายก็อันตรายมากๆครับโอกาสที่ร่างกายจะไปบดกับหน้าผามีสูง


แต่ก็พยายามจนได้มาบางส่วน แต่อันตรายมากๆครับ ได้ไม่คุ้มเสีย



 พอจะไปถ่ายบริเวณช่องระหว่างขบวน บริเวณท้ายขบวน ก็เป็นอย่างเช่นตอนสะพานข้ามแม่น้ำแควครับ  คือช่างภาพอออยู่ท้ายขบวนเพียบเลย




ดังนั้น เพื่อให้ได้ภาพสะพานและแม่น้ำ  ผมจึงตัดสินใจขออนุญาตพี่พนักงานรถไฟ ขอเข้าไปถ่ายในห้องผู้ช่วยคนขับ ด้านซ้ายของตัวรถซึ่งมิใช่ห้องคนขับ เพื่อให้ได้ภาพสะพานถ้ำกระแซมาฝากกันครับ




 ซึ่งพี่ๆเขาก็ใจดีครับ อนุญาตให้เข้าไปถ่ายได้ แต่ต้องถ่ายผ่านกระจกรถไฟครับ  ดังนั้น ภาพที่ได้ จึงมีคราบสกปรกของกระจกรถไฟ ติดมาด้วย แต่ทำไงได้ครับ อยากได้ภาพสวยๆ ยังไงต้องยอมทำใจครับ  งานได้จึงจำต้องได้อย่างเสียอย่างครับ



 ขบวนรถไฟแล่นอย่างช้าๆด้วยความระมัดระวังครับ




 ใกล้จะสุดสะพานแล้วครับ



 และแล้วเมื่อช่างภาพเริ่มกลับเข้าไปนั่งประจำที่ จึงเป็นโอกาสที่ผมจะได้ถ่ายสะพานอีกครั้ง จึงกดรูปนี้ไปเต็มๆ ซึ่งถือว่าพอดีที่สุดเท่าที่ทำได้ตอนนั้นครับ



และแล้วก่อนสิ้นสุดสะพาน ขบวนรถก็มาถึงบริเวณปากถ้ำกระแซครับ



ถ้ำกระแซ เป็นถ้ำที่เคยเป็นที่พักของเชลยศึกเมื่อครั้งสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ จากไทยไปพม่าครับ โดยตัวถ้ำติดกับสะพานถ้ำกระแซ สะพานสายประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งจากข้อมูลที่หาได้  ภายในถ้ำโปร่งและมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ มองจากปากถ้ำมาที่บริเวณทางรถไฟจะเห็นทิวทัศน์ที่งดงามและมองเห็นแม่น้ำแควน้อยด้วยครับ

 ขบวนก็มาถึงสุดปลายสะพานครับ



 ซึ่งปลายสะพาน เป็นส่วนที่ตั้งของสถานีส่วนที่ ๓ ซึ่งเป็นบริเวณร้านค้่าและสถานีใหม่ครับ



 จากกำหนดการดูแล้ว ขบวนนำเที่ยวไม่จอดให้เดินเที่ยวชมที่สถานีนี้ครับ ซึ่งแปลกเหมือนกันว่า ทำไม่ถึงไม่แวะให้เดิมชมทั้งที่เป็นสถานที่สำคัญเช่นกัน แต่ขบวนกลับขับผ่านสะพานมุ่งหน้าสู่สถานีน้ำตกทันทีครับ



 ซึ่งจากการสอบถามและหาข้อมูล หากใครจะมาถ่ายบริเวณนี้ จะต้องลงที่ส่วนหัวสะพาน จากนั้นต้องนั่งรถสองแถวไปน้ำตกไทรโยคน้อยเอง  หรือมาสะพานถ้ำกระแซเอง จากน้ำตกไทรโยค แล้วรอกลับขึ้นขบวนช่วงบ่ายที่ถ้ำกระแซในช่วงบ่าย (ขากลับ)  เอาละไม่ว่าด้วยเหตุใด ผมอยากให้เพิ่มกำหนดการณ์ที่สถานี สักครึ่งชั่วโมงยังดี และไปลดเวลาจอดที่น้ำตกไทรโยคก็ได้ เพราะที่น้ำตกรถหยุดนานถึง ๒ชั่วโมงเศษ ชมน้ำตกจนเบื่อแล้วก็ยังไม่ถึงเวลารถกลับซะที ๕๕๕๕๕ ก็แค่ความเห็นนะครับ

จบในช่วงนี้ด้วยภาพนี้นะครับ ค่อยตามต่อ ณ สุดปลายรางในปัจจุบัน น้ำตกไทรโยคน้อยครับ 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น