วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

กลับเมืองร้อยเกาะ กับขบวนรถเร็วที่ 173

เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๕ หลังจากที่ผมเสร็จภาระกิจที่ กทม เรียบร้อย ก็ถึงเวลาต้องกับสู่สุราษฏร์ธานี เพื่อมาทำงานที่ค้างอยู่ระหว่างผมขึ้นมา กทม และหาเลี้ยงชีพต่อไปครับ

เนื่องจากการเดินทาง ผมได้จองตั๋วเดินทางไปกลับไว้แล้วในคราวเดียวด้วยรถไฟ  เมื่อใกล้ถึงเวลาเดินทาง จึงออกจากห้องพักมาแสตนบายที่หัวลำโพงครับ


ภายในหัวลำโพงครับ ระหว่างนั้นก็มีขบวนรถไฟสายต่างๆเข้าออกอยู่ตลอดเวลา


ภายในหัวลำโพง มีการติดเครื่องปรับอากาศ จึงทำให้การนั่งรอขบวนเข้าสู่ชานชลา จึงสบายๆไม่ร้อนอบอ้าวเหมือนสมัยก่อนแล้วครับ


ในระหว่างนั่งรอขบวนก็หาอะไรรองท้องเล็กน้อย ซึ่งไม่นานก็มีเสียงตามสายแจ้งว่า ขบวนที่ผมใช้เดินทางกลับเข้ามาจอดที่ชานชลาที่ ๙ เรียบร้อยแล้ว ผมจึงขนสัมภาระซึ่งมีจำนวนกระเป๋าหลายใบไปไว้บนรถไฟก่อนเลย จะได้ไม่ต้องเดินแบกกระเป๋าให้รุงรังครับ

ขบวนที่ใช้เดินทาง คือขบวนรถเร็วที่ ๑๗๓ กรุงเทพ - นครศรีธรรมราช ที่ชานชลาที่ ๙ ครับ


ส่วนตู้โดยสารสำหรับที่นั่งนอนของผม อยู่ในคันที่ ๑๐ ครับ


ขบวนรถเร็วที่ ๑๗๓ นั้น ทำขบวนโดยหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom 4306 (Caterpillar) ครับ


เนื่องจากยังพอมีเวลาก่อนออกเดินทางพอสมควร จึงเดินเล่นถ่ายภาพบริเวณหัวลำโพงพลางๆครับ


เดินออกมาเพียงเล็กน้อยครับ ก็พบอนุสรณ์ "ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง" ครับ

อนุสรณ์ "ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง"  การรถไฟฯ  ได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกเหตุการณ์สำคัญในอดีต และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔  ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิการว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพฯถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก เป็นทางขนาดกว้าง ๑.๔๓๕ เมตร ซึ่งต่อมา ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการสร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ ๐๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๔ ครับ


บริเวณรอบๆ มีหัวรถจักรไอน้ำ ๗๑๔ แบบล้อ ๒-๖-๐ ตั้งเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ อนุสรณ์ "ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง" ด้วยครับ แต่ปัจจุบันหัวรถจักรนี้ ได้เลิกใช้งานแล้ว


หัวลำโพงจากมุมมองด้านอนุสรณ์


แล้วแล้วเสียงตามสายก็บอกเวลาปล่อยขบวนรถเร็วที่ ๑๗๓ แล้วครับ ไม่นานเสียงหวูดของเจ้าหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom 4306 ก็ดังขึ้น ผมจึงเดินกลับไปขึ้นขบวนรถเตรียมเดินทางกลับสู่มาตุภูมิครับ



ไม่นานครับ ก็ถึงเวลาปล่อยขบวนรถที่ ๑๗๓ ออกจากสถานีกรุงเทพหรือหัวลำโพง


โดยขบวนรถเคลื่อนตัวไปช้าๆ  และเข้าสู่รางหลักมุ่งหน้าสู่สถานีสามเสนครับ



ระวางออกจากหัวลำโพง พบหัวรถจักร Alsthom หมายเลข 4201 ชนิด Diesel Electric Locomotives
๒,๔๐๐ แรงม้าครับ กำลังรอเพื่อเข้าไปทำขบวนที่หัวลำโพง





นอกจากนี้ ยังพบหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric (GEK) 4024 ใช้เป็นหัวรถจักรลากสับเปลี่ยนตู้โดยสารในสถานีกรุงเทพครับ

ตอนแรกเห็นตกใจเลยครับ ว่าขบวนนี้ไปวิ่งผ่านดินแดงที่ไหนมา และการรถไฟใช้หัวคันนี้ลากขบวนไหน แล้วเวลาขับไป คนขับจะมองเห็นหรือไม่ ด้วยความเครงใจ กลับถึงบ้านเลยถามอากู๋ครับ พบว่ามีผู้ลงรายละเอียดคันนี้ไว้ก่อนแล้ว และถึงบางอ้อครับ ว่าเขาไม่ได้ให้เป็นหัวขบวน แต่ใช้สับเปลี่ยนตู้โดยสารเท่านั้น แต่จริงๆก็น่าจะล้างซักหน่อยนะครับ


หลังจากเจอเรื่องตกใจนิดหน่อย ขบวนก็เดินทางสู่สถานีสามเสน และบางซื่่อครับ



สะพานก่อนเข้าสถานีบางซื่อครับ



โรงรถจักรดีเซล บางซื่อ


หลังจากแวะรับผู้โดยสารจากสถานีบางซื่อแล้วขบวน ๑๗๓ ก็เดินทางลงสู่ภาคใต้
ขณะกำลังวิ่งผ่านสะพานพระหกครับ


สะพานพระราม ๖  เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครในเขตบางพลัด และจังหวัดนนทบุรีในอำเภอบางกรวย โดยสะพานพระราม ๖ เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสะพานแรกของ ประเทศไทย ลงนามในสัญญาก่อสร้าง เมื่อ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๕ เริ่มการก่อสร้างเมื่อ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ วางหีบพระฤกษ์เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๖ โดยกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเชื่อมทางรถไฟฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้ติดต่อ กัน

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตัวสะพานได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก และมีการซ่อมแซมให้กลับมาใช้เดินรถยนต์ได้อย่างเดิม อยู่หลายครั้งประกอบกับอายุการใช้นานที่เก่าแก่ลง จนเมื่อมีการสร้างสะพานพระราม ๗ เสร็จสิ้น จึงทำการยุติเส้นทางรถยนต์ลง ซึ่งในปัจจุบันสะพานพระราม ๖ ถูกใช้เป็นเส้นทางรถไฟอย่างเดียว ส่วนเส้นทางเดินรถยนตร์จะใช้สะพานพระราม ๗ แทนครับ ที่มา http://www.lib.ru.ac.th/journal/bangkok/rama6.html


ขบวนเดินทางต่อไปเรื่อยๆครับ ไม่นานนัก ก็ถึงสถานีเพชรบุรีอย่างรวดเร็ว เนื่องจากไม่มีขบวนรถสวนครับ


แต่หลังจากขบวนรถไฟ เริ่มเข้าเขตจังหวัดประจวบฯก็เข้าเขตแห่งการสับหลีกทางครับ ซึ่งขบวนของผมหลีบบ้าง ขบวนอื่นหลบบ้าง สลับกันไปครับ จนกระทั่งถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เที่ยงคืนนิดๆครับ


ที่สถานีประจวบ พบหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric (GE) หมายเลข 4037 รุ่นใหญ่ (เก่าแก่) ของหัวรถจักรดีเซลที่ใช้อยู่ในปัจจุบันครับ ทำขบวนอะไรอันนี้ไม่แน่ใจครับ


เมื่อเข้าเขตจังหวัดชุมพรครับ อุปสรรคของการเดินทางด้วยรถไฟอีกอย่าง คือฝนครับ ไม่ใช่ทำให้รถวิ่งไม่ได้นะครับ มันก็วิ่งได้ปกตินั้นแหละ แต่ทำให้ผมต้องยกกระจกหน้าต่างขึ้น อดนอนรับลมเย็นๆเลยครับ แฮะๆ

ภาพนี้ขณะที่ขบวน ๑๗๓ จอดหลบหลีกขบวนที่มาจากใต้ ที่สถานีรถไฟนาชะอัง หมู่ที่ ๒ ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพรครับ


รอสักประมาณ ๑๕ นาทีครับ เสียงคำรามของรถจักรดีเซลก็มาถึง
แถมยิงลำแสงเลเซอร์ ยังกับอุลตร้าแมนมาเลยครับ ๕๕๕
เมื่อขบวนเดินทางต่อยังอีกหลายขั่วโมงครับกว่าจะถึงสุราษฏร์ นอนต่อดีกว่าครับ


กำหนดขบวนที่ ๑๗๓ จะมาถึงสถานีสุราษฏร์ ประมาณ ๐๕.๔๐ นาฬิกาครับ หลังจากที่ขบวนรถผ่านสถานีไชยาแล้ว พนักงานประจำขบวนก็มาปลุกเรียกผู้โดยสารที่จะลงสถานีรถไฟสุราษฏร์ครับ ซึ่งกำลังนอนหลับได้ทีเพราะอากาศเย็นฝนตกมาตลอดครับ ผใซึ่งตื่นก่อนเล็กน้อยหลังจากล้างหน้าแปรงฟันเสร็จ ก็ทยอยขนกระเป๋ามาวางรอที่ประตูทางลงล่วงหน้าเลยครับ

เห็นแล้วครับ สะพานจุลจอมเกล้า ข้ามแม่น้ำตาปีครับ


เห็นเงาคนนึกว่าคนมาวิ่งออกกำลังกาย พอเข้าไปใกล้ อ่าว เยาวชนของชาติ สาวๆวัยคอซองสองคน กำลังวิ่งเล่นหยอกล้อกับบ่าวๆอยู่บนสะพาน นี่ถ้าไม่ติดมาผบ.มาด้วย จะไปแจมเอ้ย... จะดูสิว่าลูกหลานเราหรือเปล่า  อิอิ


และแล้ว ขบวนก็เทียบชานชลาครับ มาถึงก่อนเวลาด้วยครับ
ใครบอกว่ารถไฟช้า ไม่เลย หากไม่เสีย ๕๕



จอดอยู่นานพอดูครับ จนกระทั่งเวลาประมาณ ๖.๐๕ นาฬิกา สถานีก็ทำการปล่อยขบวนรถสู่จังหวัดนครศรีธรรมราชต่อไปครับ


เมื่อขบวนที่ ๑๗๓ ออกจากสถานีสุราษฏร์ธานีไปแล้ว ด้านขวาเขียวๆนั้น เป็นรถไฟท้องถิ่น ขบวนที่ ๔๗๗ สุราษฎร์ธานี - สุไหงโก-ลก ก็เตรียมเดินทางสู่สถานีสุไหงโก-ลก เป็นขบวนถัดไปครับ


เนื่องจากที่บ้านยังไม่มารับ ระหว่างนั้นก็ถ่ายบรรยากาศของสถานียามรุ่งเข้าพลางๆครับ


อีกรูปครับ แสงพระอาทิตย์กำลังเริ่มล่องสว่างครับ





แต่เนื่องจากฝนตกในช่วงเช้า จงทำให้ฟ้ามีแต่เมฆครับ


ไม่นานครับ ที่บ้านก็เดินทางมารับ ก่อนถึงบ้านเล็กน้อย จึงมาเห็นแสงสีทองของพระอาทิตย์ยามเช้าครับ
ถึงบ้านพักอีกนิดหน่อย เตรียมตื่นมาลุยงานต่อครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น