วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กลับเมืองร้อยเกาะ กับขบวนรถเร็วที่ 173

วันเดินทาง วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สถานีต้นทาง กรุงเทพ ( หัวลำโพง )

สถานีปลายทาง สุราษฏร์ธานี

ขบวนรถที่โดยสาร ขบวนรถเร็วที่ 173 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ

ความจากเดิมตอนที่แล้ว สู่เมืองบางกอก กับขบวนรถเร็วที่ 174 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เนื่องจากผมมีภารกิจต้องขึ้นไปสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ประจำปี 2555 ที่กรุงเทพมหานคร โดยจะสอบทั้งหมดเป็นเวลา 3 วัน วันแรก คือ วันอาทิตย์ ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 วันที่ 2 คือ วันเสาร์ ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และวันที่ 3 คือ วันอาทิตย์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 แต่ในรอบนี้มาสามารถไปอยู่กรุงเทพได้หลายวัน เพราะติดงานคดีที่ต้องกลับมาสืบพยานระหว่างสัปดาห์ รอบนี้เลยใช้ระบบสอบเสร็จแล้วเดินทางกลับก่อนแล้วค่อยขึ้นไปใหม่ครับ

รุ่งเช้าของวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556




หลังจากสอบเรียบร้อยครบถ้วนทั้งสามวัน ช่วงบ่ายของวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ผมเดินทางออกจากที่พักไปยังสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือหัวลำโพงเพื่อกลับสุราษฏร์ธานีครับ



มาถึงสถานีรถไฟกรุงเทพ มีเวลาเหลืออีกพอสมควร ขบวนรถที่ใช้เดินทางในวันนี้ มาจอดเทียบในชานชาลาเรียบร้อยแล้ว คือ ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ - นครศรีธรรมราช มีกำหนดออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ ในเวลา 17.35 นาฬิกา



เมื่อขนของขึ้นเก็บบนตู้โดยสารเรียบร้อย แต่ยังมีเวลาอีกนิด เลยเดินถ่ายรูปภายในสถานีรถไฟกรุงเทพหรือหัวลำโพง เพื่อฆ่าเวลาเช่นเคยครับ



เริ่มแรก ด้วยขบวนรถชานเมืองไม่ทราบขบวนครับ ทำลากจูงโดยหัวรถจักร Alsthom (AHK.) หมายเลข 4229 ครับ



ในชานชาลาที่ 9 พนักงานกำลังทำความสะอาดตู้โดยสารของขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช อยู่ครับ



เดินออกมาด้านนอกสถานี ไปยังบริเวณอนุสรณ์ "ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง" ครับ

อนุสรณ์ "ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง" การรถไฟฯ ได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน รำลึกเหตุการณ์สำคัญในอดีต และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 5 ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติ ให้กระทรวงโยธาธิการ ว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพฯถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก ซึ่งต่อมาได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการสร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2434 ครับ


บริเวณบริเวณอนุสรณ์ "ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง" มีหัวรถจักรไอน้ำ หมายเลข 714 ตั้งอยู่ด้วย เลยขอถ่ายรูปสักนิดครับ





ระหว่างนั้น มีหัวรถจักรกำลังเดินตัวเปล่าเข้ามาครับ



หัวรถจักรที่เข้ามานั้น คือ หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric (GE CM22-7i) หรือ GEA หมายเลข 4550 ครับ โดยบริษัท General Electric Transportation Systems รัฐ Pennsylvania USA. เป็นผู้สร้าง ราคาในขณะนั้น 54,350,498 บาท โดยการรถไฟนำมาใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2538 ครับ



ถัดจากหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric (GE CM22-7i) หรือ GEA หมายเลข 4550 ก็มีหัวรถจักรเดินตัวเปล่าเข้ามาอีกคันครับ



หัวรถจักรที่เข้ามานั้น คือ หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric (GE CM22-7i) หรือ GEA หมายเลข 4537 ครับ โดยการรถไฟนำมาใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2538 เช่นเดียวกับหัวรถจักรหมายเลข 4550 ครับ เพียงแต่หัวรถจักรนี้ไม่ได้ทำสีใหม่ครับ



หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric (GE CM22-7i) หรือ GEA หมายเลข 4537 เดินตัวเปล่าเข้าสู่ชานชาลาที่ 8 เพื่อทำขบวนรถระยะใกล้ครับ



ไม่นานก็เคลื่อนขบวนสู่จุดหมายปลายทางต่อไปครับ



ผบ. ขึ้นประจำที่นั่งเรียบร้อย



ส่วนผม ขอจิบอะไรเย็นๆก่อนครับ อิอิ



ไม่นานครับ ก็ถึงเวลาปล่อยขบวนรถที่ 173 ออกจากสถานีกรุงเทพหรือหัวลำโพง


บ๊ายบาย กรุงเทพฯ เจอกันอีกเมื่อชาติต้องการ





ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ขณะเคลื่อนผ่านย่านจอดตู้โดยสารครับ






ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ขณะลอดผ่านสะพานกษัตริย์ศึกครับ โดยด้านขวาของรูป มีหัวรถจักรกำลังทำหน้าที่เป็นรถจักรสับเปลี่ยนตู้โดยสารอยู่ด้วยครับ




หัวรถจักรที่ทำหน้าที่เป็นรถจักรสับเปลี่ยนคู้โดยสาร ได้แก่คุณปู่ GEK UM12C หมายเลข 4009 ทำหน้าที่รถจักรสับเปลี่ยนอยู่ในสถานีกรุงเทพด้วย



แสงอาทิตย์ยามเย็น จากหน้าต่างขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช



มื้อเย็นบนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช วันนี้ 30 บาทครับ





บรรยากาศยามเย็น จากขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช




ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช จอดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟบ้านโป่ง



จากนั้น ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ก็เคลื่อนขบวนสู่เส้นทางสายใต้อย่างเต็มตัว



ราตรีสวัสดิ์ ด้วยดวงจันทร์ที่หน้าต่างของขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ - นครศรีธรรมราช



ตื่นมาอีกที ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ก็มาจอดเติมน้ำ ที่สถานีรถไฟชุมพรครับ




จากนั้นหลับต่อ ตื่นมาอีกที พระอาทิตย์กำลังขึ้นแล้วครับ เลยจัดไปหลายรูป ซึ่งการถ่ายภาพบนขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ที่กำลังวิ่งนั้น ยากพอสมควร เล่นเอาเบลอไปหลายรูปครับ







ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ขณะผ่านบ่อน้ำร้อนบ่อเล็กๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในบ่อน้ำร้อนในสำนักสงฆ์ธารน้ำร้อน ที่ผุดอยู่ข้างทางรถไฟ แถวๆอำเภอไชยาครับ



ภาพยาวๆ ของขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ก่อนถึงสถานีรถไฟมะลวน





และแล้ว ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช ก็มาถึงสะพานจุลจอมเกล้า ก่อนเข้าสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานีครับ





ขบวนรถเร็วที่ 173 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช กำลังเข้าสู่สถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี



ถึงสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี เวลา 07.00 นาฬิกา เมื่อลงจากขบวนรถเรียบร้อย ก็เข้าเมืองเตรียมลุยงานกันต่อไปครับ



ปล. ในรอบนี้ ต้องขอขอบคุณท่าน ทค.กิจเกษม ชูศักดิ์ อีกครั้ง ที่อุตส่าห์อาสามารับและพาผมไปส่งที่บ้านสวนมา ณ โอกาสนี้ด้วย

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สู่เมืองบางกอก กับขบวนรถเร็วที่ 174

วันเดินทาง วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สถานีต้นทาง สุราษฏร์ธานี

สถานีปลายทาง กรุงเทพ ( หัวลำโพง )

ขบวนรถที่โดยสาร ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ

ความจากเดิมตอนที่แล้ว กลับเมืองร้อยเกาะ กับขบวนรถเร็วที่ 173 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 


เนื่องจากผมมีภารกิจต้องขึ้นไปสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ประจำปี 2555 ที่กรุงเทพมหานคร โดยจะสอบทั้งหมดเป็นเวลา 3 วัน วันแรก คือ วันอาทิตย์ ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 วันที่ 2 คือ วันเสาร์ ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และวันที่ 3 คือ วันอาทิตย์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 แต่ในรอบนี้มาสามารถไปอยู่กรุงเทพได้หลายวัน เพราะติดงานคดีที่ต้องกลับมาสืบพยานระหว่างสัปดาห์ รอบนี้เลยใช้ระบบสอบเสร็จแล้วเดินทางกลับก่อนแล้วค่อยขึ้นไปใหม่ครับ


หลังจากกลับมาทำภารกิจเกี่ยวกับคดีเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาเดินทางสู่กรุงเทพมหานครอีกครั้ง เพื่อขึ้นไปสอบอีก 2 กลุ่มวิชาที่เหลือ ในวันเสาร์ ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และ วันอาทิตย์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ซึ่งแน่นอน ผมย่อมไม่พลาดที่จะเดินทางไปด้วยรถไฟเช่นเคย โดยขบวนรถไฟที่ผมใช้เดินทางนั้น เป็นขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ ซึ่งจะมาถึงสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี ในเวลา 16.47 นาฬิกา โดยในรอบนี้ได้ที่นั่งตู้นอนชั้นสองพัดลม สมปรารถนาครับ




เหตุที่ผมไม่เลือกไปกับตู้โดยสารปรับอากาศ เนื่องจากไม่สามารถถ่ายบรรยากาศและวิวสองข้างทางรถไฟได้เพราะติดกระจก แม้ช่วงแรก ๆของการเดินทางจะร้อนสักหน่อย แต่พอตกดึกจะเย็นสบายจนถึงขั้นหนาวเลยครับ

ในวันนั้นผมเดินทางไปถึงสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี ก่อนเวลา ประมาณ บ่ายสี่โมงเย็นครับ




เมื่อไปถึง ขบวนรถท้องถิ่นที่ 489 สุราษฏร์ธานี – คีรีรัฐนิคม ซึ่งมีกำหนดออกจากสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี เวลา 16.55 นาฬิกา ยังจอดอยู่ที่ชานชาลาที่ 2 รอเวลาออกเดินทาง โดยในวันนั้น ขบวนรถท้องถิ่นที่ 489 สุราษฏร์ธานี – คีรีรัฐนิคม นำลากขบวนโดย หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า General Electric รุ่น UM12C หรือ GEK หมายเลข 4043 ครับ




ไม่นานก็มีเสียงตามสายประกาศว่า ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ และขบวนรถเร็วที่ 168 กันตัง – กรุงเทพ จะมาถึงสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี ล่าช้ากว่ากำหนดประมาณ 2 ชั่วโมงเศษ งานเข้าเลยครับ

เมื่อรถเสียเวลาแบบนี้ งดอุดหนุนตู้เสบียง กินก๋วยเตี๋ยวต้มยำที่แม่ค้าขับรถเครื่องแบบพ่วงข้าง มาขายอยู่หน้าสถานี ประชดการรถไฟซะเลย




ขายแบบง่ายๆอย่างนี้ แต่ขอบอก รสชาติอร่อยกว่าร้านที่เปิดเป็นตึกแถวหลายร้านนะครับ



อิ่มอร่อยกับก๋วยเตี๋ยวเรียบร้อย เดินถ่ายรูปเพื่อย่อยสักนิด



จากนั้นเมื่อถึงเวลา 16.55 นาฬิกา ขบวนรถท้องถิ่นที่ 489 สุราษฏร์ธานี – คีรีรัฐนิคม ก็ออกจากสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี สู่ปลายทางสถานีคีรีรัฐนิคมครับ



จากนั้นเดินขึ้นสะพานข้ามทางรถไฟ ภายรูปสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี ในมุมสูงพลางๆครับ




รอไปเรื่อยๆ ไม่นาน ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 43 กรุงเทพ – สุราษฏร์ธานี ก็เดินทางมาถึงสถานีปลายทาง และจอดส่งผู้โดยสารในชานชาลาที่ 3 รอเวลาเพื่อทำขบวนรถด่วนพิเศษที่ 44 สุราษฏร์ธานี – กรุงเทพ โดยออกจากสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี เวลา 20.41 นาฬิกา ต่อไปครับ



ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 43 กรุงเทพ – สุราษฏร์ธานี ในวันนั้นขับเคลื่อนด้วยรถดีเซลรางปรับอากาศ แดวู รุ่น APD.60 หมายเลข 2541 ครับ



ประมาณ 6 โมงเย็นเศษๆ ผมจึงลงจากสะพานข้ามทางรถไฟ ไปรอถ่ายรูปบริเวณชานชาลาที่ 1 ครับ



ประมาณ 6 โมงเย็นเศษๆ ขบวนรถรถไฟ ขบวนแรกที่มาถึงสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี คือขบวนรถด่วนที่ 86 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ ครับ



ในวันนั้น ขบวนรถด่วนที่ 86 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ นำขบวนโดยรถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom (ALS) ส่วนหมายเลขอะไรไม่ทราบเพราะภาพจับไม่ชัดครับ




ไม่นานขบวนรถเร็วที่ 168 กันตัง – กรุงเทพ ก็มาถึงสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานีเป็นขบวนต่อไปครับ




ในวันนั้น ขบวนรถเร็วที่ 168 กันตัง – กรุงเทพ นำขบวนโดยรถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom (ALS) ส่วนหมายเลขอะไรนั้น ไม่ทราบเพราะภาพจับไม่ทันเช่นกัน





เมื่อขบวนรถเร็วที่ 168 กันตัง – กรุงเทพ จอดให้ผู้โดยสารขึ้นตู้โดยสารเรียบร้อยแล้ว ก็เคลื่อนขบวนสู่สถานีต่อไป



หลังจากขบวนรถเร็วที่ 168 กันตัง – กรุงเทพ ออกจากสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานีเรียบร้อยแล้ว รออีกสักระยะใหญ่ๆ ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ มาคลานถึงสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี เวลา 18.50 นาฬิกา ล่าช้า 2 ชั่วโมงครับ




เมื่อขบวนหยุดขบวนสนิทแล้ว ก็ขนสัมภาระขึ้นตู้โดยสารตามที่ระบุไว้ แต่ไม่ต้องรีบร้อนครับ เพราะต้องจอดอยู่พักหนึ่งเพื่อนำตู้โดยสารชั้น 3 ซึ่งเป็นตู้โดยสาร สุราษฏร์ธานี – กรุงเทพ จำนวน 2 ตู้ ที่จอดอยู่ที่สถานีสุราษฏร์ธานี มาต่อท้ายขบวนก่อนครับ



เมื่อรถจักรสับเปลี่ยน นำตู้โดยสารชั้น 3 จำนวน 2 ตู้ ที่จอดอยู่ที่สถานีสุราษฏร์ธานี ไปต่อท้ายขบวนเรียบร้อย ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ ก็เดินทางออกจากสถานีสุราษฏร์ธานีทันทีครับ



ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ ขณะข้ามสะพานจุลจอมเกล้าครับ



การเดินทางในครั้งนี้ พิเศษหน่อยครับ เนื่องจาก ผบ.เพิ่งแลกกล่องใส่อาหารด้วยแสตมป์เซเว่นมาใหม่ ๆ ในรอบนี้เลยเตรียมข้าวและกับข้าวมาทานบนขบวนรถด้วยซะเลยครับ



เมนูในวันนี้คือ หมูทอดไข่ดาวครับ ได้บรรยากาศไปอีกแบบ



ออกจากสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานีมาสักระยะ ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ ก็สวนกับขบวนรถสินค้า ที่สถานีรถไฟคลองไทรครับ



ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ มาถึงสถานีรถไฟไชยาครับ

ขณะจอดที่สถานีไชยา ผมเห็นพระภิกษุรูปนี้ ซึ่งเป็นฝรั่งไม่ใช่คนเอเซีย นั่งอยู่ในชานชาลา ในท่าตั้งจิตอยู่ในสมาธิ นิ่งสงบไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ รู้สึกดีอย่างบอกไม่ถูก เลยอดคิดสังเวชใจกับพระสงฆ์ที่เป็นคนไทยแต่กำเนิดบางรูป ที่มีพฤติกรรมแย่ๆ และมีภาพหลุดออกมาในสังคมออนไลน์เรื่อยๆ เฮ้อ..เวรกรรมของประเทศไทย




เมื่อขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ จอดให้ผู้โดยสารขึ้นตู้โดยสารเรียบร้อยแล้ว ก็เคลื่อนขบวนสู่สถานีต่อไป



สถานีที่ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ จอดรับผู้โดยสาร คือสถานีรถไฟท่าชนะ



สถานีรถไฟท่าชนะ ตั้งอยู่ถนนรถไฟ ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้



ระหว่างเดินทางยังไม่ง่วงเลยขอดูหนังสักตอนครับ



สถานีที่ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ จอดรับผู้โดยสารเป็นสถานีต่อไป คือสถานีรถไฟชุมพร โดยเข้าจอดในชานชาลาที่ 2 เนื่องจากต้องหลีกทางให้ขบวนรถจากกรุงเทพครับ



ส่วนขบวนที่หลีกทางให้นั้น ไม่แน่ใจครับว่าเป็นขบวนรถอะไร



หลังจากเสียเวลาพอสมควร ตอนนี้ค่อยเร็วสมชื่อขบวนรถเร็วขึ้นมาหน่อย



เผลอหลับไปตอนไหนไม่แน่ใจ ตื่นขึ้นมาอีกที ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ ก็มาถึงสถานีรถไฟราชบุรีครับ



ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ เข้าสู่ศาลายา



ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ กับบรรยากาศยามเช้าแห่งท้องทุ่งแถวศาลายา




ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ ขณะเข้าโค้งหน้าศาลจังหวัดตลิ่งชัน




ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ มาถึงสถานีรถไฟบางบำหรุ




ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ ก่อนขึ้นสะพานพระรามหกครับ



ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ ขณะข้ามสะพานพระรามหกครับ



ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ ออกจากสะพานพระรามหก เตรียมเข้าสู่สถานีชุมทางบางซื่อ



ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ ขณะกำลังเข้าสู่สถานีชุมทางบางซื่อ



ขบวนรถเร็วที่ 174 นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ ก็มาถึงสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ เวลาประมาณ 7.10 นาฬิกา




แม้ออกจากสุราษฏร์ธานีล่าช้ากว่า 2 ชั่วโมง แต่ขบวนนี้ฮึดสู้ ควบทำความเร็วได้ถึงใจ มาถึงเร็วกว่ารอบที่แล้วพอสมควรครับ



หลังจากพักผ่อนในช่วงเข้า ช่วงบ่าย ก็เดินทางมาที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก เพื่อทำลงสนามสอบต่อไปครับ









หลังจากสอบเสร็จ เดินทางกลับที่พัก หาอะไรทานก่อนพักผ่อน เพื่อลุยกับกลุ่มวิชาสุดท้ายในวันพรุ่งนี้ครับ

ขอบคุณครับ