วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โดดงานไปนั่งรถไฟเล่น ตอนที่ 1

บันทึกการเดินทางด้วยรถไฟ วันที่ 3 ธันวาคม 57  เส้นทาง สุราษฏร์ธานี – พัทลุง – สุราษฏร์ธานี 

ช่วงที่ 1 สถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี – สถานีรถไฟบ้านส้อง


เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา เกิดเบื่อๆจากงานที่ทำอยู่ทุกวันอย่างบอกไม่ถูก เมื่อเป็นดังนั้น เลยตัดสินใจแอบหนีงานไปนั่งรถไฟขบวนท้องถิ่นเล่น 1 วัน เริ่มต้นจากสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี โดยมีจุดหมายปลายทางที่สถานีรถไฟพัทลุง จากนั้นขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟพัทลุง กลับมาสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี

สำหรับขบวนรถไฟท้องถิ่นที่จะใช้เดินทางขาไป มีให้เลือกเพียง 2 ขบวนครับ ขบวนแรก คือขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก กำหนดออกจากสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี เวลา 06.18 นาฬิกา ไปถึงสถานีรถไฟพัทลุง เวลา 10.56 นาฬิกา และขบวนที่สอง คือ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 445 ชุมพร – ชุมทางหาดใหญ่ กำหนดออกจากสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี เวลา 09.43 นาฬิกา ไปถึงสถานีรถไฟพัทลุง เวลา 14.18 นาฬิกา แต่เนื่องจากผมต้องเผื่อเวลาในการเดินทางกลับด้วย ดังนั้น ผมจึงเลือกเดินทางไปด้วยขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก

ผมเดินทางออกจากบ้าน เพื่อไปยังสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานีในช่วงเช้ามืด เมื่อไปถึงภายในสถานีเริ่มมีผู้โดยสารมารอโดยสารรถไฟบ้างแล้ว





สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี หรือเดิมชื่อ สถานีรถไฟพุนพิน เปิดเมื่อปี 2458 แต่ได้เปลี่ยนชื่อในภายหลังเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อจังหวัด เป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำตาปี ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากตัวอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายใต้ พิกัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 635.02 ของทางรถไฟสายใต้




ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ในวันนั้นนำลากขบวนโดยหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า GE (GEK) หมายเลข4040 ครับ




ถึงว่าปู่จะมีอายุมากก็ตาม แต่แรงยังดีไม่มีตก






อรุณเริ่มเบิกฟ้า ใกล้เวลาเดินทางแล้วครับ



เมื่อใกล้ถึงเวลาเดินทาง ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ซึ่งในตอนแรกจอดอยู่ในรางที่ 4 ก็ได้เคลื่อนนำขบวนเข้าสู่ชานชลาที่ 3 เพื่อให้ผู้โดยสารได้ขึ้นไปจับจองที่นั่งครับ สำหรับค่าโดยสารรถไฟชั้นสาม จากสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี ไปสถานีพัทลุง ปกติมีราคา 42 บาท แต่เนื่องจากในตอนนี้ รัฐยังจัดโครงการรถไฟฟรีเพื่อประชาชนอยู่ การโดยสารรถไฟในวันนั้นจึงฟรีทั้งไปและกลับครับ



เมื่อถึงเวลา 06.18 นาฬิกา ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนออกจากสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานี เดินทางสู่สถานีต่อไปครับ





เมื่อขบวนออกจากสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานีแล้ว ก็เริ่มเก็บภาพบรรยากาศริมทางรถไฟครับ




แสงยามเช้านี่สวยจริงๆครับ




สำหรับขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลกนั้น จะจอดทุกสถานีและจอดทุกที่หยุดรถ ไม่ว่าจะมีผู้โดยสารขึ้นลงหรือไม่ ดังนั้น การเดินทางด้วยรถไฟจึงใช้เวลานานกว่ารถโดยสารประเภทอื่น จึงทำให้ผู้คนสมัยนี้ซึ่งต่างเร่งรีบไปทำงานไปทำธุระ เลือกมาใช้บริการรถไฟน้อยลง



ออกจากสถานีรถไฟสุราษฏร์ธานีได้สักระยะ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 2 ได้แก่ “สถานีรถไฟเขาหัวควาย” ครับ 

สถานีรถไฟเขาหัวควาย ตั้งอยู่ตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานีรถไฟชั้น 4 ของทางรถไฟสายใต้ พิกัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 641.51 ของทางรถไฟสายใต้




หลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ “สถานีรถไฟเขาหัวควาย” เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่สถานีต่อไปครับ




ออกจาก “สถานีรถไฟเขาหัวควาย” ได้สักระยะ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 3 ได้แก่ “ที่หยุดรถบ่อกรัง” ครับ




“ที่หยุดรถบ่อกรัง” ตั้งอยู่บ้านบ่อกรัง ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่หยุดรถของทางรถไฟสายใต้ พิกัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 647.23 ของทางรถไฟสายใต้ครับ




หลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ “ที่หยุดรถบ่อกรัง” เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่สถานีต่อไปครับ




ออกจาก “ที่หยุดรถบ่อกรัง” ได้สักระยะ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 4 ได้แก่ “สถานีรถไฟเขาพลู” ครับ




“สถานีรถไฟเขาพลู” ตั้งอยู่บ้านเขาพลู ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานีรถไฟชั้น 4 ของทางรถไฟสายใต้ พิกัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 652.46 ของทางรถไฟสายใต้ครับ




หลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ “สถานีรถไฟเขาพลู” เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่สถานีต่อไปครับ





แสงยามเช้า




ในวันนั้นผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟมีน้อยครับ เลยมีที่ว่างในแต่ละตู้โดยสารอยู่มากพอสมควร




ออกจาก “สถานีรถไฟเขาพลู” ได้สักระยะ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 5 ได้แก่ “ที่หยุดรถคลองยา” โดย “ที่หยุดรถคลองยา” ตั้งอยู่บ้านคลองยา หมู่ 6 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่หยุดรถของทางรถไฟสายใต้ พิกัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 657.76 ของทางรถไฟสายใต้ครับ



หลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ “ที่หยุดรถคลองยา” เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่สถานีต่อไปครับ




ออกจาก “ที่หยุดรถคลองยา” ได้สักระยะ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็ทิ้งโค้งซ้ายเข้าสู่สถานีที่ 6 คือ “สถานีรถไฟบ้านนา” ครับ




“สถานีรถไฟบ้านนา” ตั้งอยู่ถนนหน้าอำเภอ ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้ พิกัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 662.34 ของทางรถไฟสายใต้ครับ




หลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ “สถานีรถไฟบ้านนา” เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่สถานีต่อไปครับ




บรรยากาศยามเช้าอีกรูป




ออกจาก “สถานีรถไฟบ้านนา” ได้สักระยะ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 7 ได้แก่ “สถานีรถไฟห้วยมุด”




“สถานีรถไฟห้วยมุด” ตั้งอยู่บ้านห้วยมุด หมู่ 1 ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานีรถไฟชั้น 4 ของทางรถไฟสายใต้ พิกัดที่ตั้งกิโลเมตรที่ 669.68 ของทางรถไฟสายใต้ครับ



หลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ “สถานีรถไฟห้วยมุด”เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่สถานีต่อไปครับ





ผู้ร่วมเดินทางไปกับผมในครั้งนี้




ก่อนขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก จะเข้าจอดรับส่งผู้โดยสารในจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 8 จะต้องผ่าน “สะพานแคบนาสาร” ก่อนครับ “สะพานแคบนาสาร” สร้างขึ้นเพื่อข้ามคลองฉวาง ตั้งอยู่บริเวณช่วงเสาโทรเลขที่ 672/15 - 673/1 หรือตำแหน่งกม. ที่ 672+894.60 มีจำนวน 3 ช่วง Span ความยาวช่วง Span ละ 50 เมตร รวมความยาวทั้งสิ้น 150 เมตร นำมาติดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2526 ( ค.ศ. 1983 ) ครับ





ผ่าน “สะพานแคบนาสาร” ได้สักระยะ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 8 ได้แก่ “สถานีรถไฟนาสาร” โดย “สถานีรถไฟนาสาร ”ตั้งอยู่ถนนพูลศิริ ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้ พิกัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 673.70 ของทางรถไฟสายใต้ครับหลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ “สถานีรถไฟนาสาร” เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่สถานีต่อไปครับ




ออกจาก “สถานีรถไฟนาสาร” ได้สักระยะ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 9 ได้แก่ “ที่หยุดรถคลองปราบ” ครับ




“ที่หยุดรถคลองปราบ” ตั้งอยู่ตำบลคลองปราบ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมเคยเป็นสถานีรถไฟชั้น 4 ของทางรถไฟสายใต้ พิกัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 679.90 ของทางรถไฟสายใต้ครับ โดยปัจจุบันได้ยกเลิกสถานีคลองปราบ เปลี่ยนเป็นที่หยุดรถแทน โดยหลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ “ที่หยุดรถคลองปราบ” เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่สถานีต่อไปครับ



ออกจาก “ที่หยุดรถคลองปราบ” ได้สักระยะ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 10 ได้แก่ “สถานีรถไฟพรุพี” ครับ

“สถานีรถไฟพรุพี” ตั้งอยู่ตำบลพรุพี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานีรถไฟชั้น 4 ของทางรถไฟสายใต้ พิกัดที่ตั้งกิโลเมตรที่ 684.03 ของทางรถไฟสายใต้ครับ โดยหลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ “สถานีรถไฟพรุพี” เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่สถานีต่อไปครับ



ออกจาก “สถานีรถไฟพรุพี” ได้สักระยะ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 11 ได้แก่ “ที่หยุดรถคลองสูญ” ครับ






“ที่หยุดรถคลองสูญ” ตั้งอยู่บ้านคลองสูญ หมู่ 5 ตำบลพรุพี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่หยุดรถของทางรถไฟสายใต้ พิกัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 687.72 ของทางรถไฟสายใต้ โดยหลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ “ที่หยุดรถคลองสูญ” เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่สถานีต่อไปครับ




ออกจาก “ที่หยุดรถคลองสูญ” ได้สักระยะ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 12 ได้แก่ “สถานีรถไฟบ้านส้อง” ครับ





ขอจบการเดินทางช่วงแรกไว้เพียงเท่านี้ก่อน มาติดตามต่อสำหรับการเดินทางในช่วงที่ 2 สถานีรถไฟบ้านส้อง - สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสงครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น