วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โดดงานไปนั่งรถไฟเล่น ตอนที่ 4

บันทึกการเดินทางด้วยรถไฟ วันที่ 3 ธันวาคม 2557 สุราษฏร์ธานี – พัทลุง – สุราษฏร์ธานี 

ช่วงที่ 4 สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง – สถานีรถไฟพัทลุง

จากช่วงที่ 3 สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง – สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง เดินทางกันต่อครับ

หลังจากขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก จอดรับส่งผู้โดยสารที่ “สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง ” เป็นที่เรียบร้อย ก็เคลื่อนขบวนสู่สถานีต่อไปครับ





ออกจากสถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทองมานิดหน่อย จะเห็นรางรถไฟไปสถานีนครศรีธรรมราช ทางซ้ายมือครับ




บรรยากาศท้องทุ่งริมทางรถไฟ



เมื่อขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ออกจาก สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง ได้สักระยะ ขบวน 447 ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 29 “สถานีรถไฟควนหนองคว้า” ครับ



“สถานีรถไฟควนหนองคว้า” ตั้งอยู่บนทางหลวงสาย 4018 ตำบลควนหนองคว้า อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถานีรถไฟ ระดับ 4 ของทางรถไฟสายใต้ พิกัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 789.38 ของทางรถไฟสายใต้ครับ



หลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ “สถานีรถไฟควนหนองคว้า” เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่จุดรับส่งผู้โดยสารที่ 30 ได้แก่ “สถานีรถไฟบ้านตูล” โดย “สถานีรถไฟบ้านตูล” ตั้งอยู่ตำบลบ้านตูล อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถานีรถไฟ ระดับ 4 ของทางรถไฟสายใต้ พิกัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 794.94ของทางรถไฟสายใต้ครับ



หลังจากขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก จอดรับส่งผู้โดยสารที่ “สถานีรถไฟบ้านตูล” เป็นที่เรียบร้อย ก็เคลื่อนขบวนสู่จุดรับส่งผู้โดยสารต่อไปครับ



ใกล้เที่ยง บนขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ชั้น 3 อากาศร้อนพอสมควรครับ ดูจากสีหน้า ทริปนั่งรถไฟไปสถานีนครศรีธรรมราช ลูกทัวร์คงไม่ตามไปแน่ อิอิ



เมื่อขบวนรถออกจาก “สถานีรถไฟบ้านตูล” ได้สักระยะ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 31 ได้แก่ “ที่หยุดรถบ้านทุ่งค่าย” ครับ




ออกจาก “ที่หยุดรถบ้านทุ่งค่าย” ได้สักระยะ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 32 ได้แก่ “สถานีรถไฟชะอวด” ครับ



“สถานีรถไฟชะอวด” ตั้งอยู่ใน ตำบลชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถานีรถไฟ ระดับ 3 ของทางรถไฟสายใต้ พิกัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 822.06 ของทางรถไฟสายใต้ครับ



เมื่อขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ออกจาก “สถานีรถไฟชะอวด” ได้สักระยะ ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 33 ได้แก่ “ที่หยุดรถหนองจิก” ครับ




ออกจาก “ที่หยุดรถหนองจิก” ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 34 แต่ก่อนที่จะเข้าถึงสถานีดังกล่าว ปรากฏว่าด้านซ้ายมีรถไฟจอดหลบหลีกอยู่ครับ



ขบวนที่จอดหลบหลีกนั้น เป็นขบวนรถท้องถิ่นที่ 446 ชุมทางหาดใหญ่ – ชุมพร ซึ่งเป็นรถขบวนขาขึ้น โดยหากจะเดินทางกลับสุราษฏร์ธานี ก็สามารถขึ้นขบวนนี้กลับได้เช่นกัน มิฉะนั้น ก็จะเหลือขบวนรถท้องถิ่นที่ 448 สุไหงโกลก – สุราษฏร์ธานี อีกขบวนที่สามารถกลับได้ครับ ซึ่งหากพลาดทั้งสองขบวนนี้ ต้องรอขบวนรถเร็วที่ 170 ยะลา - กรุงเทพ หรือรถเร็วที่ 172 สุไหงโก-ลก - กรุงเทพ และรถด่วนพิเศษที่ 38 สุไหงโกลก - กรุงเทพ และรถด่วนพิเศษอื่นๆเท่านั้น ซึ่งทุกขบวนจะไปถึงสุราษฏร์ธานี หลังเที่ยงคืนทุกขบวนครับ



ขบวนรถท้องถิ่นที่ 446 ชุมทางหาดใหญ่ – ชุมพร ในวันนั้น นำลากขบวนโดยหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า GE (GEK) หมายเลข4037 อายุราวคราวเดียวกับหัวรถจักรที่นำลากขบวนที่ผมโดยสารเช่นกันครับ



ผู้โดยสารเท่าที่เห็น จะเป็นคนรุ่นเดอะซะส่วนใหญ่ครับ และคงเดินทางด้วยรถไฟเป็นประจำแน่นอน



ซึ่งจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 34 ที่สวนกับขบวนรถท้องถิ่นที่ 446 ชุมทางหาดใหญ่ – ชุมพร ได้แก่ “สถานีรถไฟบ้านนางหลง” ครับ



“สถานีรถไฟบ้านนางหลง” ตั้งอยู่ใน ตำบลนางหลง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช



ในสถานีบ้านนางหลง นอกจากมีขบวนรถท้องถิ่นที่ 446 ชุมทางหาดใหญ่ – ชุมพร หลบอยู่ในรางหลีกแล้ว ยังมีรถใช้ในงานบำรุงทาง ( รถอัดหิน ) รอหลีกอยู่ด้วยครับ



ออกจากสถานีบ้านนางหลงได้สักระยะ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 35 ได้แก่ “ที่หยุดรถบ้านตรอกแค” ครับ



หลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ “ที่หยุดรถบ้านตรอกแค” เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่จุดรับส่งผู้โดยสารที่ 35



ซึ่งจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 35 ได้แก่ “สถานีรถไฟบ้านขอนหาด” ครับ



“สถานีรถไฟบ้านขอนหาด”



หลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ “สถานีรถไฟบ้านขอนหาด” เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่จุดรับส่งผู้โดยสารที่ 36



ซึ่งจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 36 ได้แก่ “สถานีรถไฟแหลมโตนด” ครับ




หลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ สถานีรถไฟแหลมโตนด เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่จุดรับส่งผู้โดยสารที่ 37



ซึ่งจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 37 ได้แก่ “ที่หยุดรถบ้านสุนทรา” ครับ




หลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ ที่หยุดรถบ้านสุนทรา เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่จุดรับส่งผู้โดยสารที่ 38 ได้แก่ “สถานีรถไฟปากคลอง” ครับ



หลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ สถานีรถไฟปากคลอง เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่จุดรับส่งผู้โดยสารที่ 39 ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของวันนี้ นั้นคือ “สถานีรถไฟพัทลุง” ครับ



ซึ่งจริงๆแล้ว ก่อนถึง “สถานีรถไฟพัทลุง” จะมีที่หยุดรถอีก ๒ แห่งครับ คือ ที่หยุดรถชัยบุรี และที่หยุดรถบ้านมะกอกใต้ แต่เนื่องจากที่หยุดรถดังกล่าวอยู่ใกล้สถานีรถไฟพัทลุง คาดว่าขบวนขาล่องจะไม่หยุดที่ที่หยุดรถทั้งสอง ( เดา ) เลยไม่มีภาพที่หยุดรถทั้งสองแห่งครับ ต้องลองดูขากลับว่าขบวนรถจะจอดหรือไม่อีกครั้ง



ภูเขาชื่ออะไรไม่ทราบ แต่มีวัดเก่าอยู่บนนั้นครับ




ไม่นานนัก ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่สถานีรถไฟพัทลุง



และแล้ว ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลกก็ถึงสถานีรถไฟพัทลุงเวลา 11.38 นาที ซึ่งตามกำหนดขบวนนี้จะต้องมาถึงสถานีรถไฟพัทลุงเวลา 10.56 ล่าช้ากว่ากำหนด 42 นาที ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติมากๆ





แต่เมื่อดูจากเวลาที่ขบวนรถท้องถิ่นที่ 448 สุไหงโกลก - สุราษฏร์ธานี ซึ่งผมจะใช้เดินทางกลับสุราษฏร์ธานี จะมาถึงสถานีพัทลุงเวลา 13.00 นาฬิกาแล้ว ผมมีเวลาเพียง 1 ชั่วโมงนิดๆ เท่านั้นที่จะไปทำอะไร จากนั้นจะต้องกลับมารอรถไฟที่สถานีพัทลุง มิฉะนั้น อาจตกรถได้ เมื่อเป็นอย่างนั้น ผมและลูกทัวร์ ( จำเป็น ) เลยนั่งวินมอเตอร์ไซค์ จากสถานีรถไฟพัทลุง ไปทานมื้อเที่ยงอย่างเร็ว กับช่วงที่ 5 หลานตาชู สเต๊กเฮาส์ – สถานีรถไฟพัทลุง ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น