บันทึกการเดินทางด้วยรถไฟ วันที่ 3 ธันวาคม 2557 สุราษฏร์ธานี – พัทลุง – สุราษฏร์ธานี
ช่วงที่ 3 สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง – สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
จากช่วงที่ 2 สถานีรถไฟบ้านส้อง – สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง เดินทางกันต่อครับ
ช่วงที่ 3 สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง – สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
จากช่วงที่ 2 สถานีรถไฟบ้านส้อง – สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง เดินทางกันต่อครับ
หลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่สถานีต่อไปครับ
ออกจากชุมทางทุ่งสงได้สักระยะ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 25 ได้แก่ “สถานีรถไฟใสใหญ่” ครับ
“สถานีรถไฟใสใหญ่” ตั้งอยู่ถนนทุ่งสง-นครศรีธรรมราช หมายเลข 403 ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้ พิกัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 762.00 ของทางรถไฟสายใต้ครับ
หลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ “สถานีรถไฟใสใหญ่” เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เคลื่อนขบวนสู่สถานีต่อไปครับ
ระหว่างทางขออัพเดตสักหน่อย
เมื่อพ้นจากสถานีรถไฟใสใหญ่ ทางรถไฟสายใต้จะเริ่มเขาเขตภูเขาซึ่งรถไฟจะต้องไต่ขึ้นเนินสูงพอสมควร
ซึ่งวิวสองข้างนี่สวยมากๆครับ
เมื่อขบวนรถออกจาก “สถานีรถไฟใสใหญ่” ได้สักระยะ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 26 ได้แก่ “สถานีรถไฟช่องเขา” ครับ
“สถานีรถไฟช่องเขา” ตั้งอยู่ ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้
“สถานีรถไฟช่องเขา” พิกัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 767.78 ของทางรถไฟสายใต้ครับ
ก่อนจะถึงสถานที่สำคัญในทริปนี้ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก จะต้องไต่เขาขึ้นไปเรื่อยๆ
ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ขณะผ่านช่องว่างระหว่างเขาครับ
ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก กำลังเข้าโค้งซ้าย เพื่อเข้าสู่สถานที่ที่สำคัญในทริปนี้
นั้นก็คือ “อุโมงค์ช่องเขา” ครับ
“อุโมงค์ช่องเขา” เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของไทย และเป็นอุโมงค์รถไฟเพียงแห่งเดียวของเส้นทางรถไฟสายใต้
“อุโมงค์ช่องเขา” ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลช่องเขา อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช บริเวณกิโลเมตรที่ 769.822 ถึง 770.058 ของทางรถไฟสายใต้ มีความยาวของตัวอุโมงค์ 235.90 เมตร
“อุโมงค์ช่องเขา” ตั้งอยู่ระหว่างสถานีรถไฟช่องเขา และสถานีรถไฟร่อนพิบูลย์ ภายใน “อุโมงค์ช่องเขา” เป็นผนังคอนกรีต ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 เอ (18 เมตร)
เสียดายครับ ในวันนั้น ผมถ่ายรูปขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ขณะวิ่งเข้าสู่อุโมงค์ช่องเขาทางด้านอำเภอทุ่งสงไม่ทัน เพราะยืนผิดฝั่ง ซึ่งจริงๆแล้ว ผมจะต้องยื่นถ่ายฝั่งซ้ายของขบวนรถ เลยทำให้ได้แต่ภาพขาออกจากอุโมงค์ฝั่งอำเภอร่อนพิบูรณ์เท่านั้น แต่ไม่เป็นไรขากลับยังมี ค่อยแก้ตัวใหม่อีกครั้งครับ
ปากอุโมงค์ช่องเขาฝั่งอำเภอร่อนพิบูลย์
รูปสุดท้ายของปากอุโมงค์ช่องเขาฝั่งอำเภอร่อนพิบูรณ์ ก่อนขบวนรถจะเข้าโค้งเพื่อเข้าสู่สถานีต่อไป
“สถานีรถไฟร่อนพิบูลย์” ตั้งอยู่ที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถานีรถไฟชั้น 2 ของทางรถไฟสายใต้ พิกัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 776.33 ของทางรถไฟสายใต้ครับ
หลังจากจอดรับส่งผู้โดยสารที่ “สถานีรถไฟร่อนพิบูลย์” เป็นที่เรียบร้อย ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447 สุราษฏร์ธานี – สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่ 28 ได้แก่ “สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง ” ครับ
“สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง ” ตั้งอยู่บนทางหลวงสาย 4018 ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถานีรถไฟ ระดับ 3 ของทางรถไฟสายใต้ เป็นจุดที่รถไฟทุกขบวนที่จะเข้าสายแยกนครศรีธรรมราช ต้องจอด (ยกเว้นรถด่วนและรถด่วนพิเศษบางขบวน) พิกัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 781.01 ของทางรถไฟสายใต้ครับ
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง เดิมเรียกว่าสถานีสามแยกนคร แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชวินิจฉัยให้กรมรถไฟ แก้ไขเป็นสถานีเขาชุมทองเมื่อ พ.ศ. 2460
ขอจบการเดินทางช่วงที่ 3 ไว้เพียงเท่านี้ก่อน มาติดตามต่อสำหรับการเดินทางในช่วงที่ 4 สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง – สถานีรถไฟพัทลุง ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น